ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูลกรมโยธาธิการและผังเมือง
กฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบอาคาร
ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรา ๒๖/๔ (๒) สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร






วิเคราะห์ 5 สาเหตุหลักโครงสร้างเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวเชียงราย
วันที่ 01/08/2014   20:37:48

วิเคราะห์ 5 สาเหตุหลักโครงสร้างเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวเชียงราย

โดย รองศาสตราจารย์ ดร. อมร พิมานมาศ รองเลขาธิการสภาวิศวกร

อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ในเหตุการณ์แผ่นดินไหว 6.3 ริกเตอร์ที่จังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ 5 พค. 2557 ที่ผ่านมาก่อให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้างบ้านเรือนมากมายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย ผู้เขียนในฐานะนักวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ลงพื้นที่สำรวจอาคารที่เสียหาย และได้ประมวลข้อมูลเพื่อหาสาเหตุของความเสียหายของโครงสร้างที่เกิดขึ้น จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ พอจะสรุปในเบื้องต้นได้ว่า มีหลายสาเหตุที่ทำให้อาคารได้รับความเสียหายอย่างมากมาย โดยสามารถจำแนกออกได้เป็น 5 สาเหตุหลักดังนี้

 

  1. การก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐานทางวิศวกรรม

เสามีขนาดที่เล็กเกินไปไม่สมดุลกับขนาดของคาน เช่นเสาขนาดเพียง 15-20 ซม. ซึ่งเล็กเกินไปไม่เหมาะสมที่จะต้านแผ่นดินไหว นอกจากนี้ การเสริมเหล็กในเสาไม่ได้มาตรฐาน เช่นใส่เหล็กแกนในเสาเพียงแค่ 2 เส้น ทั้งๆที่ตามมาตรฐานการออกแบบ ต้องใส่เหล็กเสริมในเสาอย่างน้อย 4 เส้น หรือการใช้ เหล็กปลอกที่มีขนาดเล็กเกินไป เช่นใช้เหล็กขนาด 4 มม. เป็นเหล็กปลอกทั้งๆที่ตามมาตรฐานการออกแบบต้องใช้เหล็กปลอกที่มีขนาด 6 มม. แบบเต็มเส้นขึ้นไป

 

  1. ชั้นอ่อนของอาคาร

เกิดขึ้นกับบ้านที่ก่อสร้างเป็น 2 ชั้น แต่เมื่อเกิดแผ่นดินไหว เสาชั้นล่างถูกทำลายอย่างยับเยิน แล้วทำให้ชั้นบนของบ้านพังลงมากองอยู่ที่พื้นดินแทน มักเกิดขึ้นกับบ้านที่ชั้นล่างเปิดโล่งเป็นใต้ถุนบ้าน ซึ่งทำให้เสาชั้นล่างอ่อนแอ และกลายเป็นจุดอ่อนของอาคาร จึงถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวไปก่อน จากนั้นจึงทำให้ชั้นบนของอาคารพังถล่มลงมากองอยู่ที่พื้นดินแทน

 

  1. การวิบัติของเสาสั้นหรือเสาตอม่อ

เสาตอม่อคือเสาที่อยู่ใต้พื้นชั้นล่างของบ้าน เป็นเสาสั้นๆ ที่มีความสูงเพียงแค่ประมาณ 50-100 ซม. แต่เป็นเสาที่มีความสำคัญมากเนื่องจากต้องรับน้ำหนักของเสาที่อยู่ชั้นบน เสาตอม่อได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก สาเหตุจากแรงแผ่นดินไหวทำให้เสาตอม่อเฉือนขาดหรือปูนแตกระเบิดที่ปลายบนและล่าง ทำให้เสาชั้นบนทรุดลงตามมาและเกิดการวิบัติในที่สุด

 

  1. ระยะห่างของเหล็กปลอกมากเกินไป

หัวใจสำคัญของโครงสร้างอาคารต้านแผ่นดินไหวอยู่ที่เหล็กปลอก หรือเหล็กที่พันเป็นปล้องๆรอบเหล็กแกนของเสา เมื่อเกิดแผ่นดินไหว คอนกรีตในเสาจะแตกระเบิดและหลุดแยกออกจากกันเป็นชิ้นๆ เหล็กปลอกจะช่วยยึดคอนกรีตไว้ไม่ให้หลุดออกจากกัน และช่วยประคองเหล็กแกนไม่ให้คดงอเสียรูปอีกด้วย จากข้อมูลในพื้นที่พบว่าการเสริมเหล็กปลอกในเสาเว้นระยะห่างเท่ากับ 20 ซม. ซึ่งมากเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนดไว้ถึง 2 เท่า หรือเท่ากับ 10 ซม. จึงเป็นสาเหตุให้คอนกรีตแตกระเบิดและเหล็กแกนบิดเบี้ยวเสียรูป

 

  1. การยึดระหว่างชิ้นส่วนต่างๆไม่เพียงพอ

การหลุดแยกออกจากกันระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ เช่น คานหลุดแยกจากเสา พื้นหลุดแยกจากคาน เป็นต้น สาเหตุเกิดจากการใส่เหล็กยึดระหว่างชิ้นส่วนต่างๆไม่เพียงพอหรือมีระยะฝังเหล็กที่น้อยเกินไป หรือไม่ได้ทำงอฉาก 90 องศาที่ปลายเหล็กเพื่อยึดโครงสร้างเข้าด้วยกัน ในพื้นที่พบว่า เหล็กเสริมในคานที่ฝังเข้าไปในเสาต้นนอกนั้น มีระยะฝังเพียงแค่ 5-10 ซม.  เท่านั้น จึงทำให้คานและเสาหลุดออกจากกัน แล้วทำให้โครงสร้างถล่มเสียหาย

 

บทสรุป ผู้เขียนได้วิเคราะห์ 5 สาเหตุหลักที่ทำให้โครงสร้างอาคารได้รับความเสียหายในเหตุแผ่นดินไหวที่เชียงราย ซึ่งเป็นข้อสรุปในเบื้องต้น เมื่อเราได้นำสาเหตุเหล่านี้มาประมวลเข้าด้วยกัน ก็จะได้แนวทางในการแก้ไขหรือการปรับปรุงวิธีการออกแบบและการก่อสร้างในบ้านเราให้ดียิ่งๆขึ้นไป

 

ขอขอบคุณ ดร. ธีระพจน์ ศุภวิริยะกิจ มหาวิทยาลัยพะเยา ที่เอื้อเฟื้อรูปถ่ายอาคารที่ได้รับความเสียหาย 

 

ชั้นอ่อนของอาคาร

ชั้นอ่อนของอาคาร

เสาตอม่อขาด

เสาตอม่อขาด

ระยะเรียงเหล็กปลอกมากเกินไป

ระยะเรียงเหล็กปลอกมากเกินไป

 




TIP

มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในสถานที่ทำงาน (ตอนที่ 1) วันที่ 01/08/2014   20:38:56
แบบเสริมเหล็กโครงสร้างบ้านปูนต้านแผ่นดินไหว ตอนที่ 2 วันที่ 01/08/2014   20:36:56
แบบเสริมเหล็กโครงสร้างบ้านปูนต้านแผ่นดินไหว ตอนที่ 1 วันที่ 01/08/2014   20:37:10
10 ข้อแนะนำการก่อสร้างบ้านในเขตเสี่ยงแผ่นดินไหว วันที่ 01/08/2014   20:37:23
เสริมแกร่งเสาอาคารเก่าต้านแผ่นดินไหว วันที่ 01/08/2014   20:37:35
ระดับความเสียหายของโครงสร้าง กฎ 4 ข้อก่อสร้างเสาในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว วันที่ 01/08/2014   20:38:00
แนวทางจัดการโครงสร้างที่เสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวเชียงราย วันที่ 01/08/2014   20:38:12
ประเทศไทยเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวและสึนามิแค่ไหนและจะรับมืออย่างไร วันที่ 01/08/2014   20:38:26
หลักเกณฑ์ ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา ของกระทรวงการคลัง วันที่ 16/05/2014   15:34:16
วิศวกรรมแห่งชาติ ๒๕๕๖ - การว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษา วันที่ 10/12/2013   09:47:14
วิศวกรรมแห่งชาติ ๒๕๕๖ - การคิดค่าบริการวิชาชีพวิศวกรรม วันที่ 10/12/2013   09:19:36
วิศวกรรมแห่งชาติ ๒๕๕๖ - มาตรฐานการให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม วันที่ 08/12/2013   08:54:36
วิศวกรรมแห่งชาติ ๒๕๕๖ - การเลือกใช้เครื่องสูบน่้ำอย่างถูกต้อง วันที่ 16/11/2013   22:10:24
เอกสารประกอบการบรรยาย - ระบบท่อในโรงงานอุตสาหกรรม วันที่ 16/11/2013   21:02:45
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 18 วันที่ 29/10/2013   16:42:16
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 17 วันที่ 29/10/2013   16:39:57
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 16 วันที่ 29/10/2013   05:48:14
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 15 วันที่ 27/10/2013   08:19:42
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 14 วันที่ 25/10/2013   05:55:15
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 13 วันที่ 23/10/2013   18:25:38
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 12 วันที่ 23/10/2013   18:02:19
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 11 วันที่ 21/10/2013   22:41:45
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 10 วันที่ 18/10/2013   18:47:31
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 9 วันที่ 18/10/2013   05:57:37
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 8 วันที่ 17/10/2013   06:35:36
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 7 วันที่ 16/10/2013   05:30:35
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 6 วันที่ 16/10/2013   05:30:50
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 5 วันที่ 14/10/2013   06:43:33
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 4 วันที่ 05/10/2013   09:01:31
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 3 วันที่ 05/10/2013   09:01:01
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 2 วันที่ 05/10/2013   09:00:19
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 1 วันที่ 05/10/2013   09:02:10
มาตรฐานตรวจสอบห้องเย็น วันที่ 11/09/2013   10:12:41
ทำไมไฟฟ้าลัดวงจร แล้วมักจะเกิดเพลิงไหม้ วันที่ 20/07/2013   17:32:42
สีทนไฟ สำหรับโครงสร้างเหล็กในประเทศไทย วันที่ 17/07/2013   23:53:12
กฎหมายเกี่ยวกับ แนวเขตรถไฟ วันที่ 01/07/2013   11:10:39
อายุความฟ้องวิศวกรผู้ออกแบบ วันที่ 27/02/2013   23:06:49
การระเบิดของฝุ่นโพลีเอทิลีน (Polyethylene Powder) วันที่ 06/02/2013   07:56:54
บทเรียนจากกรณีผู้รับเหมาช่วงได้รับอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรขณะปฏิบัติงาน วันที่ 06/02/2013   07:54:25
อาคารร้างใน กทม. ปัญหาที่ผู้ว่าฯกทม.ต้องแก้ไข วันที่ 27/02/2013   23:07:15 article
เพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร ผู้ครอบครองต้องรับผิด วันที่ 17/11/2012   07:20:58
แก้ปัญหาอาคารสูงเสี่ยงจากไฟไหม้ วันที่ 12/10/2012   19:11:48
การป้องกันอัคคีภัยในอาคารสาธารณะ วันที่ 12/10/2012   23:16:02
บัญญัติ 7 ประการ เพื่อตึกแถวปลอดอัคคีภัย วันที่ 12/10/2012   18:52:58
สารคดีเพลิงไหม้ ครั้งใหญ่ใน กทม วันที่ 12/10/2012   23:44:44
สายดินกับการป้องกันอัคคีภัย วันที่ 12/10/2012   13:55:31
การหนีเพลิงไหม้บนอาคารสูง วันที่ 10/01/2013   15:46:46 article
อาชีพผู้ตรวจสอบอาคารกำลังจะหมดไปหรือ วันที่ 01/09/2012   11:17:44
อาคารท่านซ้อมหนีไฟบ้างหรือยัง วันที่ 29/08/2012   16:38:56
วิธีเอาตัวรอดขณะเกิดแผ่นดินไหว ความเชื่อๆเก่าๆที่ให้หลบใต้โต๊ะ วันที่ 29/08/2012   16:39:24
วิธีการตรวจสอบเบื้องต้นแผ่นดินไหว วันที่ 29/08/2012   16:39:44
ประเด็นสัมภาษณ์ วันที่ 29/08/2012   16:39:59
ท่านจะเห็นข่าวแบบนี้อีกไหม วันที่ 29/08/2012   16:40:15
ทางออกตรวจสอบอาคารอย่างไรจะได้รับใบ ร.1 วันที่ 29/08/2012   16:40:31
ตรวจสอบบ้านง่ายๆหลังน้ำท่วมกันอย่างไร วันที่ 29/08/2012   16:40:48
การใช้อาคารอย่างไรให้ปลอดภัย วันที่ 29/08/2012   16:41:09



Copyright © 2012 All Rights Reserved.


  

 

สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร | THE BUILDING INSPECTORS ASSOCIATION
เลขที่ 487 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) ถ.รามคำแหง
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 0-2184-4612   โทรสาร: 0-2184-4613
http://www.bsa.or.th