ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูลกรมโยธาธิการและผังเมือง
กฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบอาคาร
ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรา ๒๖/๔ (๒) สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร






แนวทางจัดการโครงสร้างที่เสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวเชียงราย
วันที่ 01/08/2014   20:38:12

แนวทางจัดการโครงสร้างที่เสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวเชียงราย
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. อมร พิมานมาศ รองเลขาธิการสภาวิศวกร
อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

จากเหตุแผ่นดินไหว 6.3 ริกเตอร์ที่จังหวัดเชียงรายนั้น ผู้เขียนได้ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและได้รับคำถามจากชาวบ้านและช่างอบต. ในท้องที่ว่าจะจัดการความเสียหายของโครงสร้างอย่างไร ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการจัดการโครงสร้างไว้ 3 แนวทาง คือ 1. ซ่อม 2. ซ่อมและเสริม และ 3. รื้อถอนแล้วสร้างใหม่ ขึ้นอยู่กับระดับความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 4 ระดับคือ ระดับ 1 ถึง 4 การตรวจสอบว่าโครงสร้างเสียหายระดับไหนและควรใช้แนวทางใดในการจัดการโครงสร้างให้พิจารณาตารางสรุปดังนี้ 

ระดับความเสียหาย

โครงสร้าง

คอนกรีต

เหล็กเสริม

แนวทางจัดการ

ระดับ 1 เล็กน้อย

ไม่ทรุด ไม่เอียง ไม่ดัดงอ

กะเทาะหลุดที่ผิว

ไม่เห็นเหล็กเสริม

ซ่อม

ระดับ 2 ปานกลาง

ไม่ทรุด ไม่เอียง ไม่ดัดงอ

คอนกรีตส่วนหุ้มเหล็กกะเทาะหลุดออก

เห็นเหล็กเสริม แต่เหล็กเสริมยังไม่คดงอ

ซ่อม + เสริมเหล็กปลอก

ระดับ 3 มาก

ทรุด เอียง ดัดงอเล็กน้อย

คอนกรีตแตกเป็นชิ้นๆถึงเนื้อใน

เหล็กแกนคดงอ

เหล็กปลอกง้างออก

ซ่อม + เสริมเหล็กปลอก + เสริมเหล็กแกน

ระดับ 4 มากที่สุด

ทรุด เอียง ดัดงออย่างชัดเจน หรือ

พังถล่มโดยสิ้นเชิง

โครงสร้างหลุดแยกเป็นชิ้นๆ หรือขาดเป็นช่วงๆ

เหล็กแกนและเหล็กปลอก ขาด บิดเบี้ยว อย่างมาก

รื้อทิ้ง + สร้างใหม่

สำหรับบ้านที่ทรุดหรือเอียงแล้วนั้น ให้สังเกตว่าประตูหน้าต่างจะไม่สามารถปิดเปิดได้สนิทดังเดิมเนื่องจากโครงบ้านบิดเบี้ยวเสียรูปไปแล้ว ส่วนความเสียหายของคอนกรีตและเหล็กเสริมนั้นมักเกิดขึ้นที่ปลายบนและปลายล่างของเสา รวมทั้งเสาใต้ถุนบ้านด้วย 

สำหรับความเสียหายระดับที่ 1 แนะนำให้ซ่อมโดยใช้ปูนมอร์ตาร์ (ปูน+ทราย+น้ำ) ฉาบปิดบริเวณผิวคอนกรีตที่หลุดออก ส่วนระดับที่ 2 ก่อนฉาบปูนมอร์ตาร์ให้เสริมเหล็กปลอกก่อน สำหรับความเสียหายระดับที่ 4 ซ่อมไม่ได้แล้วต้องทุบทิ้งแล้วสร้างขึ้นใหม่ สำหรับความเสียหายระดับที่ 3 ชาวบ้านไม่ควรดำเนินการเอง เพราะขั้นตอนการซ่อมอันตรายมากและโครงสร้างอาจพังถล่มได้ทุกเมื่อ ต้องอาศัยวิศวกรและช่างก่อสร้างดำเนินการ โดยมีขั้นตอนการซ่อมดังนี้ 

  1. ค้ำยันโครงสร้างบริเวณที่ต้องการซ่อม
  2. สกัดปูนฉาบที่ผิวและคอนกรีตที่แตกร้าวด้านในออกมาให้เหลือเฉพาะเนื้อคอนกรีตส่วนที่แข็งแรง
  3. เสริมเหล็กแกนเท่ากับหรือมากกว่าจำนวนเหล็กแกนในเสาเดิม
  4. เสริมเหล็กปลอกขนาด 9 มม. ระยะเรียงไม่เกิน 7.5 ซม. รอบเหล็กแกน
  5. เทคอนกรีตหุ้มเสาเดิมให้ใหญ่ขึ้น หรือใช้แผ่นเหล็กหุ้มเสาแล้วเทคอนกรีตลงไป
  6. คงค้ำยันไว้ จนกว่าคอนกรีตจะแข็งตัวดี (ไม่ควรน้อยกว่า 14-21 วัน) จึงถอดค้ำยันออก 

การซ่อมและเสริมเหล็กด้วยวิธีข้างต้นนั้น สามารถทำเฉพาะบริเวณที่เสียหายหรือหากเสริมเสาทั้งต้นได้ก็ยิ่งดี นอกจากวิธีที่กล่าวมาแล้ว ยังใช้วิธีอื่นๆได้ เช่น การเสริมค้ำยันทแยงเหล็กหรือไม้ การหุ้มด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ เป็นต้น ทั้งนี้การเลือกใช้วิธีใดควรปรึกษาวิศวกรด้วย

ความเสียหายระดับที่ 3

ความเสียหายระดับที่ 3

 

ความเสียหายระดับที่ 4

ความเสียหายระดับที่ 4

ขั้นตอนการซ่อมเสริมเสาที่ได้รับความเสียหายระดับที่ 3

ขั้นตอนการซ่อมเสริมเสาที่ได้รับความเสียหายระดับที่ 3

 




TIP

มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในสถานที่ทำงาน (ตอนที่ 1) วันที่ 01/08/2014   20:38:56
แบบเสริมเหล็กโครงสร้างบ้านปูนต้านแผ่นดินไหว ตอนที่ 2 วันที่ 01/08/2014   20:36:56
แบบเสริมเหล็กโครงสร้างบ้านปูนต้านแผ่นดินไหว ตอนที่ 1 วันที่ 01/08/2014   20:37:10
10 ข้อแนะนำการก่อสร้างบ้านในเขตเสี่ยงแผ่นดินไหว วันที่ 01/08/2014   20:37:23
เสริมแกร่งเสาอาคารเก่าต้านแผ่นดินไหว วันที่ 01/08/2014   20:37:35
วิเคราะห์ 5 สาเหตุหลักโครงสร้างเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวเชียงราย วันที่ 01/08/2014   20:37:48
ระดับความเสียหายของโครงสร้าง กฎ 4 ข้อก่อสร้างเสาในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว วันที่ 01/08/2014   20:38:00
ประเทศไทยเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวและสึนามิแค่ไหนและจะรับมืออย่างไร วันที่ 01/08/2014   20:38:26
หลักเกณฑ์ ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา ของกระทรวงการคลัง วันที่ 16/05/2014   15:34:16
วิศวกรรมแห่งชาติ ๒๕๕๖ - การว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษา วันที่ 10/12/2013   09:47:14
วิศวกรรมแห่งชาติ ๒๕๕๖ - การคิดค่าบริการวิชาชีพวิศวกรรม วันที่ 10/12/2013   09:19:36
วิศวกรรมแห่งชาติ ๒๕๕๖ - มาตรฐานการให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม วันที่ 08/12/2013   08:54:36
วิศวกรรมแห่งชาติ ๒๕๕๖ - การเลือกใช้เครื่องสูบน่้ำอย่างถูกต้อง วันที่ 16/11/2013   22:10:24
เอกสารประกอบการบรรยาย - ระบบท่อในโรงงานอุตสาหกรรม วันที่ 16/11/2013   21:02:45
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 18 วันที่ 29/10/2013   16:42:16
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 17 วันที่ 29/10/2013   16:39:57
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 16 วันที่ 29/10/2013   05:48:14
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 15 วันที่ 27/10/2013   08:19:42
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 14 วันที่ 25/10/2013   05:55:15
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 13 วันที่ 23/10/2013   18:25:38
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 12 วันที่ 23/10/2013   18:02:19
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 11 วันที่ 21/10/2013   22:41:45
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 10 วันที่ 18/10/2013   18:47:31
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 9 วันที่ 18/10/2013   05:57:37
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 8 วันที่ 17/10/2013   06:35:36
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 7 วันที่ 16/10/2013   05:30:35
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 6 วันที่ 16/10/2013   05:30:50
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 5 วันที่ 14/10/2013   06:43:33
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 4 วันที่ 05/10/2013   09:01:31
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 3 วันที่ 05/10/2013   09:01:01
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 2 วันที่ 05/10/2013   09:00:19
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 1 วันที่ 05/10/2013   09:02:10
มาตรฐานตรวจสอบห้องเย็น วันที่ 11/09/2013   10:12:41
ทำไมไฟฟ้าลัดวงจร แล้วมักจะเกิดเพลิงไหม้ วันที่ 20/07/2013   17:32:42
สีทนไฟ สำหรับโครงสร้างเหล็กในประเทศไทย วันที่ 17/07/2013   23:53:12
กฎหมายเกี่ยวกับ แนวเขตรถไฟ วันที่ 01/07/2013   11:10:39
อายุความฟ้องวิศวกรผู้ออกแบบ วันที่ 27/02/2013   23:06:49
การระเบิดของฝุ่นโพลีเอทิลีน (Polyethylene Powder) วันที่ 06/02/2013   07:56:54
บทเรียนจากกรณีผู้รับเหมาช่วงได้รับอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรขณะปฏิบัติงาน วันที่ 06/02/2013   07:54:25
อาคารร้างใน กทม. ปัญหาที่ผู้ว่าฯกทม.ต้องแก้ไข วันที่ 27/02/2013   23:07:15 article
เพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร ผู้ครอบครองต้องรับผิด วันที่ 17/11/2012   07:20:58
แก้ปัญหาอาคารสูงเสี่ยงจากไฟไหม้ วันที่ 12/10/2012   19:11:48
การป้องกันอัคคีภัยในอาคารสาธารณะ วันที่ 12/10/2012   23:16:02
บัญญัติ 7 ประการ เพื่อตึกแถวปลอดอัคคีภัย วันที่ 12/10/2012   18:52:58
สารคดีเพลิงไหม้ ครั้งใหญ่ใน กทม วันที่ 12/10/2012   23:44:44
สายดินกับการป้องกันอัคคีภัย วันที่ 12/10/2012   13:55:31
การหนีเพลิงไหม้บนอาคารสูง วันที่ 10/01/2013   15:46:46 article
อาชีพผู้ตรวจสอบอาคารกำลังจะหมดไปหรือ วันที่ 01/09/2012   11:17:44
อาคารท่านซ้อมหนีไฟบ้างหรือยัง วันที่ 29/08/2012   16:38:56
วิธีเอาตัวรอดขณะเกิดแผ่นดินไหว ความเชื่อๆเก่าๆที่ให้หลบใต้โต๊ะ วันที่ 29/08/2012   16:39:24
วิธีการตรวจสอบเบื้องต้นแผ่นดินไหว วันที่ 29/08/2012   16:39:44
ประเด็นสัมภาษณ์ วันที่ 29/08/2012   16:39:59
ท่านจะเห็นข่าวแบบนี้อีกไหม วันที่ 29/08/2012   16:40:15
ทางออกตรวจสอบอาคารอย่างไรจะได้รับใบ ร.1 วันที่ 29/08/2012   16:40:31
ตรวจสอบบ้านง่ายๆหลังน้ำท่วมกันอย่างไร วันที่ 29/08/2012   16:40:48
การใช้อาคารอย่างไรให้ปลอดภัย วันที่ 29/08/2012   16:41:09



Copyright © 2012 All Rights Reserved.


  

 

สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร | THE BUILDING INSPECTORS ASSOCIATION
เลขที่ 487 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) ถ.รามคำแหง
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 0-2184-4612   โทรสาร: 0-2184-4613
http://www.bsa.or.th