ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูลกรมโยธาธิการและผังเมือง
กฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบอาคาร
ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรา ๒๖/๔ (๒) สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร






เสริมแกร่งเสาอาคารเก่าต้านแผ่นดินไหว
วันที่ 01/08/2014   20:37:35

เสริมแกร่งเสาอาคารเก่าต้านแผ่นดินไหว

โดย รองศาสตราจารย์ ดร. อมร พิมานมาศ รองเลขาธิการสภาวิศวกร

อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ในเหตุการณ์แผ่นดินไหว 6.3 ริกเตอร์ที่ อ.พาน จังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ 5 พค. 2557 ที่ผ่านมาก่อให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้างบ้านเรือนอย่างมากมาย ความเสียหายของโครงสร้างที่เกิดจากแผ่นดินไหวสามารถจำแนกได้เป็น 4 ระดับคือ

ระดับที่ 1 เล็กน้อย เกิดรอยร้าวในผนังเท่านั้น

ระดับที่ 2 ปานกลาง เกิดรอยร้าวในโครงสร้าง เช่น คาน และ เสา

ระดับที่ 3 มาก รอยร้าวเกิดกระจายไปทั่ว คอนกรีตกะเทาะหลุดออกมา เหล็กเสริมเสียรูป ดุ้งหรือขาด

ระดับที่ 4 โครงสร้างพังถล่มโดยสิ้นเชิง

สำหรับความเสียหายระดับที่ 1 และ 2 สามารถซ่อมแซมได้ โดยใช้ปูนเกร๊าทอัดหรือฉีดเข้าไปในรอยร้าวหรือฉีดด้วยกาวอีพอกซี ส่วนระดับที่ 3 ให้พิจารณาว่าคอนกรีตกะเทาะหลุดล่วงออกมา หากเหล็กเสริมยังไม่บิดเบี้ยวเสียรูป ยังถือว่าซ่อมได้โดยการผสมปูนซีเมนต์กับทรายและน้ำให้หมาดๆแล้วนำไปฉาบหรืออุดบริเวณคอนกรีตที่กะเทาะหลุดออกมา แต่หากเหล็กเสริมดุ้ง ผิดรูปอย่างมากหรือเหล็กเสริมขาด แปลว่าโครงสร้างใช้งานไม่ได้แล้ว ต้องทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่ ส่วนระดับที่ 4 ซึ่งเป็นระดับที่โครงสร้างพังถล่มอย่างสิ้นเชิง ก็ไม่สามารถซ่อมและใช้งานได้อีกต่อไป ต้องรื้อซากอาคารทิ้งแล้วก่อสร้างใหม่จะดีที่สุด

 

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้ ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เสาเป็นโครงสร้างที่สำคัญที่สุดของอาคาร เพราะเสาเป็นโครงสร้างที่รองรับน้ำหนักของอาคารทั้งหลัง ดังนั้นความแข็งแรงของเสาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของอาคารในการต้านแผ่นดินไหว แต่สำหรับอาคารเก่าที่ก่อสร้างมานานแล้ว เสาอาจจะมีกำลังรับน้ำหนักไม่พอ จึงต้องหาแนวทางเสริมความแข็งแรงให้แก่เสาอาคารต่อไป

 

สำหรับบทความนี้ ผมขอนำเสนอวิธีการเสริมความแข็งแรงเสาอาคารเก่า 3 วิธี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยในโครงการวิจัยเพื่อลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวระยะที่ 1 – 3 ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดยในงานวิจัยนี้ผมได้เสนอแนวทางในการทำให้เสาแข็งแรงขึ้นด้วยการหุ้มเสาด้วยวัสดุเสริมแรงประเภทต่างๆ ดังนี้

 

วิธีที่ 1 การหุ้มเสาด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก

วิธีนี้เหมาะสำหรับอาคารหลังเล็กๆ เช่น บ้านเดี่ยว ตึกแถว อาคารที่สูงไม่เกิน 3 ชั้น หรือที่มีเสาขนาดไม่เกิน 30 ซม. การหุ้มด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กให้เสริมเหล็กยืนขนาด 12 หรือ 16 มม. เพิ่มเติมที่มุมทั้ง 4 ของเสา จากนั้นพันรอบเหล็กยืนด้วยเหล็กปลอกขนาด 9 มม. ให้มีความถี่ของเหล็กปลอกไม่เกิน 5.0-7.5 ซม. จากนั้นพันด้วยลวดตาข่าย (หรือลวดกรงไก่) จากนั้นฉากปิดด้วยปูนซีเมนต์ วิธีนี้ราคาประหยัดที่สุดต้นทุนเพียงหลักพันบาทสำหรับเสา 1 ต้น

 

วิธีที่ 2 การหุ้มเสาด้วยแผ่นเหล็ก

วิธีนี้เหมาะสำหรับอาคารขนาดใหญ่ เสาสะพาน อพารต์เมนต์ คอนโดมีเนียม อาคารสูง ที่มีเสาขนาดใหญ่เกิน 50 ซม. ขึ้นไป การหุ้มเสาด้วยแผ่นเหล็กให้พับเหล็กแผ่นเป็นรูปตัวแอล เข้ามุมด้านตรงกันข้ามของเสา จากนั้นเชื่อมแผ่นเหล็กทั้งสองแผ่นให้ติดกันที่ตรงมุม โดยปล่อยให้มีช่องว่างระหว่างแผ่นเหล็กกับเสาเดิมประมาณ 3 ซม. จากนั้นกรอกปูนเกร๊าทลงไปในช่องว่างนี้เพื่อยึดแผ่นเหล็กให้ติดแน่นกับเสาเดิม รอจนกว่าปูนเก๊ราทจะแข็งตัว วิธีนี้ราคาประหยัดเหมาะสำหรับเสาที่มีขนาดใหญ่ เป็นวิธีที่ให้ความแข็งแรงสูงมาก แต่การทำงานค่อนข้างยาก เนื่องจากต้องใช้แรงงานในการพับและเชื่อมติดแผ่นเหล็กเข้าด้วยกัน

 

วิธีที่ 3 การหุ้มเสาด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์

 การหุ้มเสาด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ที่เพิ่งมีไม่นานมานี้ เหมาะสำหรับเสาในอาคารที่มีขนาดใหญ่เช่น เสาสะพาน อพารต์เมนต์ คอนโดมีเนียม อาคารสูง เช่นเดียวกับการหุ้มเสาด้วยแผ่นเหล็ก สำหรับแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์เป็นแผ่นที่เสริมด้วยเส้นใยคาร์บอนที่มีกำลังรับน้ำหนักสูงมาก คือมากกว่าเหล็กแผ่นทั่วไปถึง 10 เท่า แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์มีความบางสามารถนำไปพันรอบเสาได้โดยใช้กาวอีพอกซีเป็นตัวยึดให้แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ติดกับเสา เมื่อพันเสร็จเรียบร้อยแล้วจะได้เสาที่มีกำลังรับน้ำหนักสูงมาก สามารถต้านแผ่นดินไหวได้เป็นอย่างดี แต่มีข้อเสียคือแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ยังมีราคาแพงอยู่ แต่มีข้อดีคือการก่อสร้างทำได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการใช้แผ่นเหล็กหุ้มมาก สำหรับการหุ้มเสาด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์นั้นพบว่า มีประสิทธิภาพเป็นอย่างดี จากผลการทดสอบพบว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเสาที่ไม่ได้หุ้มด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์พบว่ามีความเสียหายอย่างรุนแรงที่บริเวณโคนเสา แต่เมื่อหุ้มเสาด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์แล้ว พบว่าเสาแข็งแรงขึ้นอย่างมากและไม่เกิดการวิบัติที่โคนเสา

 

รูปที่ 1 การหุ้มเสาด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
 

รูปที่ 1 การหุ้มเสาด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก

รูปที่ 2 การหุ้มเสาด้วยแผ่นเหล็ก

รูปที่ 2 การหุ้มเสาด้วยแผ่นเหล็ก

 

รูปที่ 3 การหุ้มเสาด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์
 

รูปที่ 3 การหุ้มเสาด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์

 

รูปที่ 4 เปรียบเทียบผลการทดสอบเสาที่ไม่ได้หุ้มด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ (ซ้าย) และเสาที่หุ้มด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ (ขวา)

 รูปที่ 4 เปรียบเทียบผลการทดสอบเสาที่ไม่ได้หุ้มด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ (ซ้าย) และเสาที่หุ้มด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ (ขวา)




TIP

มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในสถานที่ทำงาน (ตอนที่ 1) วันที่ 01/08/2014   20:38:56
แบบเสริมเหล็กโครงสร้างบ้านปูนต้านแผ่นดินไหว ตอนที่ 2 วันที่ 01/08/2014   20:36:56
แบบเสริมเหล็กโครงสร้างบ้านปูนต้านแผ่นดินไหว ตอนที่ 1 วันที่ 01/08/2014   20:37:10
10 ข้อแนะนำการก่อสร้างบ้านในเขตเสี่ยงแผ่นดินไหว วันที่ 01/08/2014   20:37:23
วิเคราะห์ 5 สาเหตุหลักโครงสร้างเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวเชียงราย วันที่ 01/08/2014   20:37:48
ระดับความเสียหายของโครงสร้าง กฎ 4 ข้อก่อสร้างเสาในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว วันที่ 01/08/2014   20:38:00
แนวทางจัดการโครงสร้างที่เสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวเชียงราย วันที่ 01/08/2014   20:38:12
ประเทศไทยเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวและสึนามิแค่ไหนและจะรับมืออย่างไร วันที่ 01/08/2014   20:38:26
หลักเกณฑ์ ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา ของกระทรวงการคลัง วันที่ 16/05/2014   15:34:16
วิศวกรรมแห่งชาติ ๒๕๕๖ - การว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษา วันที่ 10/12/2013   09:47:14
วิศวกรรมแห่งชาติ ๒๕๕๖ - การคิดค่าบริการวิชาชีพวิศวกรรม วันที่ 10/12/2013   09:19:36
วิศวกรรมแห่งชาติ ๒๕๕๖ - มาตรฐานการให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม วันที่ 08/12/2013   08:54:36
วิศวกรรมแห่งชาติ ๒๕๕๖ - การเลือกใช้เครื่องสูบน่้ำอย่างถูกต้อง วันที่ 16/11/2013   22:10:24
เอกสารประกอบการบรรยาย - ระบบท่อในโรงงานอุตสาหกรรม วันที่ 16/11/2013   21:02:45
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 18 วันที่ 29/10/2013   16:42:16
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 17 วันที่ 29/10/2013   16:39:57
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 16 วันที่ 29/10/2013   05:48:14
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 15 วันที่ 27/10/2013   08:19:42
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 14 วันที่ 25/10/2013   05:55:15
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 13 วันที่ 23/10/2013   18:25:38
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 12 วันที่ 23/10/2013   18:02:19
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 11 วันที่ 21/10/2013   22:41:45
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 10 วันที่ 18/10/2013   18:47:31
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 9 วันที่ 18/10/2013   05:57:37
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 8 วันที่ 17/10/2013   06:35:36
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 7 วันที่ 16/10/2013   05:30:35
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 6 วันที่ 16/10/2013   05:30:50
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 5 วันที่ 14/10/2013   06:43:33
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 4 วันที่ 05/10/2013   09:01:31
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 3 วันที่ 05/10/2013   09:01:01
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 2 วันที่ 05/10/2013   09:00:19
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 1 วันที่ 05/10/2013   09:02:10
มาตรฐานตรวจสอบห้องเย็น วันที่ 11/09/2013   10:12:41
ทำไมไฟฟ้าลัดวงจร แล้วมักจะเกิดเพลิงไหม้ วันที่ 20/07/2013   17:32:42
สีทนไฟ สำหรับโครงสร้างเหล็กในประเทศไทย วันที่ 17/07/2013   23:53:12
กฎหมายเกี่ยวกับ แนวเขตรถไฟ วันที่ 01/07/2013   11:10:39
อายุความฟ้องวิศวกรผู้ออกแบบ วันที่ 27/02/2013   23:06:49
การระเบิดของฝุ่นโพลีเอทิลีน (Polyethylene Powder) วันที่ 06/02/2013   07:56:54
บทเรียนจากกรณีผู้รับเหมาช่วงได้รับอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรขณะปฏิบัติงาน วันที่ 06/02/2013   07:54:25
อาคารร้างใน กทม. ปัญหาที่ผู้ว่าฯกทม.ต้องแก้ไข วันที่ 27/02/2013   23:07:15 article
เพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร ผู้ครอบครองต้องรับผิด วันที่ 17/11/2012   07:20:58
แก้ปัญหาอาคารสูงเสี่ยงจากไฟไหม้ วันที่ 12/10/2012   19:11:48
การป้องกันอัคคีภัยในอาคารสาธารณะ วันที่ 12/10/2012   23:16:02
บัญญัติ 7 ประการ เพื่อตึกแถวปลอดอัคคีภัย วันที่ 12/10/2012   18:52:58
สารคดีเพลิงไหม้ ครั้งใหญ่ใน กทม วันที่ 12/10/2012   23:44:44
สายดินกับการป้องกันอัคคีภัย วันที่ 12/10/2012   13:55:31
การหนีเพลิงไหม้บนอาคารสูง วันที่ 10/01/2013   15:46:46 article
อาชีพผู้ตรวจสอบอาคารกำลังจะหมดไปหรือ วันที่ 01/09/2012   11:17:44
อาคารท่านซ้อมหนีไฟบ้างหรือยัง วันที่ 29/08/2012   16:38:56
วิธีเอาตัวรอดขณะเกิดแผ่นดินไหว ความเชื่อๆเก่าๆที่ให้หลบใต้โต๊ะ วันที่ 29/08/2012   16:39:24
วิธีการตรวจสอบเบื้องต้นแผ่นดินไหว วันที่ 29/08/2012   16:39:44
ประเด็นสัมภาษณ์ วันที่ 29/08/2012   16:39:59
ท่านจะเห็นข่าวแบบนี้อีกไหม วันที่ 29/08/2012   16:40:15
ทางออกตรวจสอบอาคารอย่างไรจะได้รับใบ ร.1 วันที่ 29/08/2012   16:40:31
ตรวจสอบบ้านง่ายๆหลังน้ำท่วมกันอย่างไร วันที่ 29/08/2012   16:40:48
การใช้อาคารอย่างไรให้ปลอดภัย วันที่ 29/08/2012   16:41:09



Copyright © 2012 All Rights Reserved.


  

 

สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร | THE BUILDING INSPECTORS ASSOCIATION
เลขที่ 487 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) ถ.รามคำแหง
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 0-2184-4612   โทรสาร: 0-2184-4613
http://www.bsa.or.th