ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูลกรมโยธาธิการและผังเมือง
กฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบอาคาร
ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรา ๒๖/๔ (๒) สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร






ระดับความเสียหายของโครงสร้าง กฎ 4 ข้อก่อสร้างเสาในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว
วันที่ 01/08/2014   20:38:00

ระดับความเสียหายของโครงสร้าง กฎ 4 ข้อก่อสร้างเสาในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว

โดย รองศาสตราจารย์ ดร

 

. อมร พิมานมาศ รองเลขาธิการสภาวิศวกร

อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

จากการที่ผู้เขียนลงพื้นที่สำรวจบ้านเรือนอาคารที่ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ทำให้ได้พบข้อมูลที่สำคัญประการหนึ่งของโครงสร้างอาคาร นั่นคือขนาดของเสาและการเสริมเหล็กในเสา มีส่วนอย่างมากต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยผู้เขียนสามารถสรุปได้ 4 ระดับดังนี้

 

1.        ความเสียหายระดับ 4 หรือรุนแรงมากที่สุด: บ้านที่ใช้เสาปูนไม่ได้มาตรฐาน เช่น เสาขนาดเล็กกว่า 20 ซม. หรือ เสริมเหล็กแกนไม่ครบ 4 เส้นตามมาตรฐาน จะพังถล่มโดยสิ้นเชิง เช่น เสาหัก หรือขาดจากกัน ทำให้บ้านทรุด พังถล่มลงมา

 

2.        ความเสียหายระดับ 3 หรือรุนแรงมาก: บ้านที่ใช้เสาปูนขนาด 20 ซม. เสริมเหล็กแกน 4 เส้นขึ้นไป แต่เสริมเหล็กปลอกขนาด 4 มม. มีระยะเรียงระหว่างเหล็กเท่ากับ 20 ซม. จะเกิดความเสียหายที่ปลายบนและปลายล่างของเสาอย่างรุนแรง คอนกรีตแตกระเบิดออก เหล็กปลอกง้างหลุด เหล็กแกนโก่งงอ บิดเบี้ยว แม้ว่าอาคารจะยังไม่พังถล่ม แต่พื้นชั้นสองอาจทรุดตัวแล้ว ดังนั้นต้องรีบซ่อมแซมและเสริมเหล็กใหม่แทนที่เหล็กเดิมที่คดงอโดยเร็ว

 

3.        ความเสียหายระดับ 2 หรือปานกลาง: บ้านที่ใช้เสาปูนขนาด 25 ซม. เสริมเหล็กแกน 4 เส้นขึ้นไป แต่เสริมเหล็กปลอกไม่พอคือใช้เหล็กปลอกขนาด 4 มม. มีระยะเรียงระหว่างเหล็กปลอกเท่ากับ 25 ซม. เกิดความเสียหายที่ปลายบนและปลายล่างของเสาปานกลาง คอนกรีตไม่ถึงขั้นแตกระเบิด มีเฉพาะคอนกรีตส่วนเปลือกที่หลุดออกมาบ้าง อาจสังเกตุเห็นเหล็กเสริมได้แต่เหล็กเสริมยังไม่คด จัดเป็นความเสียหายที่เปลือกคอนกรีตเท่านั้น สามารถซ่อมแซมได้โดยฉาบปูนเกร๊าทเข้าไปในบริเวณที่เสียหาย

 

4.        ความเสียหายระดับ 1 หรือเล็กน้อย: บ้านที่ใช้เสาปูนขนาด 30 ซม. เสริมเหล็กแกน 4 เส้นขึ้นไป แต่เสริมเหล็กปลอกขนาด 6 มม. มีระยะเรียงเหล็กปลอก 30 ซม. ได้รับความเสียหายที่ปลายบนและล่างเพียงเล็กน้อย แค่ผิวคอนกรีตหลุดถลอกออกมา ไม่กระทบต่อโครงสร้าง สามารถซ่อมแซมได้โดยฉาบปูนเกร๊าทเข้าไปในบริเวณที่เสียหาย สามารถใช้งานโครงสร้างได้ดังเดิม

 

 

ข้อแนะนำ จากการวิเคราะห์โครงสร้างที่ได้รับความเสียหาย พบว่า ปัจจัยที่สำคัญต่อความแข็งแรงของโครงสร้างบ้านปูน คือเสาอาคาร ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอแนะนำกฎ 4 ข้อสำหรับการก่อสร้างเสาบ้านปูนในเขตเสี่ยงแผ่นดินไหว ดังนี้

 

1.       เสาของบ้านปูนที่มีความสูง 2 ชั้นควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 20-25 ซม. ถ้ามีความสูง 3 ชั้นควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 30-35 ซม.

2.       เหล็กแกนในเสาต้องไม่น้อยกว่า 4 เส้น หากใช้ 6 เส้นหรือ 8 เส้นจะดีมาก และขนาดของเหล็กแกนต้องไม่เล็กกว่า 12 มม. หากใช้เหล็ก 16 มม. ได้ยิ่งดี เพื่อให้เหล็กไม่คดงอได้ง่ายเมื่อคอนกรีตกะเทาะหลุดออก

3.       เหล็กปลอก สำหรับบ้าน 2 ชั้นควรใช้ไม่น้อยกว่า 6 มม. พันรอบเหล็กแกนเสาให้มีระยะเรียงไม่เกิน 7.5 ซม. สำหรับบ้าน 3 ชั้นควรใช้เหล็กปลอกไม่น้อยกว่า 9 มม. พันรอบเหล็กแกนให้มีระยะเรียงไม่เกิน 7.5 ซม.  ตำแหน่งที่พันเหล็กปลอกถี่นี้ให้วัด 50 ซม. จากปลายบนและปลายล่างของเสา ส่วนตรงกลางเสาให้ใช้ระยะเรียงเหล็กปลอกเป็นสองเท่าหรือ 15 ซม. ได้

4.       สำหรับเสาตอม่อ หรือเสาใต้ถุนบ้าน ควรมีขนาดใหญ่กว่าเสาชั้นบนด้านละ 5 ซม. และควรเสริมเหล็กปลอกให้ถี่ตามข้อ 3 ตลอดความสูงเสา

 

ความเสียหายระดับ 1 เล็กน้อย

ความเสียหายระดับ 1 เล็กน้อย

ความเสียหายระดับที่ 2 ปานกลาง

ความเสียหายระดับที่ 2 ปานกลาง

ระดับที่ 3 เสียหายมาก

ระดับที่ 3 เสียหายมาก


ความเสียหายระดับที่ 4 มากที่สุด

ความเสียหายระดับที่ 4 มากที่สุด



กฎ  4 ข้อก่อสร้างในพื้นที่เสี่ยง

กฎ  4 ข้อก่อสร้างในพื้นที่เสี่ยง

 




TIP

มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในสถานที่ทำงาน (ตอนที่ 1) วันที่ 01/08/2014   20:38:56
แบบเสริมเหล็กโครงสร้างบ้านปูนต้านแผ่นดินไหว ตอนที่ 2 วันที่ 01/08/2014   20:36:56
แบบเสริมเหล็กโครงสร้างบ้านปูนต้านแผ่นดินไหว ตอนที่ 1 วันที่ 01/08/2014   20:37:10
10 ข้อแนะนำการก่อสร้างบ้านในเขตเสี่ยงแผ่นดินไหว วันที่ 01/08/2014   20:37:23
เสริมแกร่งเสาอาคารเก่าต้านแผ่นดินไหว วันที่ 01/08/2014   20:37:35
วิเคราะห์ 5 สาเหตุหลักโครงสร้างเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวเชียงราย วันที่ 01/08/2014   20:37:48
แนวทางจัดการโครงสร้างที่เสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวเชียงราย วันที่ 01/08/2014   20:38:12
ประเทศไทยเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวและสึนามิแค่ไหนและจะรับมืออย่างไร วันที่ 01/08/2014   20:38:26
หลักเกณฑ์ ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา ของกระทรวงการคลัง วันที่ 16/05/2014   15:34:16
วิศวกรรมแห่งชาติ ๒๕๕๖ - การว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษา วันที่ 10/12/2013   09:47:14
วิศวกรรมแห่งชาติ ๒๕๕๖ - การคิดค่าบริการวิชาชีพวิศวกรรม วันที่ 10/12/2013   09:19:36
วิศวกรรมแห่งชาติ ๒๕๕๖ - มาตรฐานการให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม วันที่ 08/12/2013   08:54:36
วิศวกรรมแห่งชาติ ๒๕๕๖ - การเลือกใช้เครื่องสูบน่้ำอย่างถูกต้อง วันที่ 16/11/2013   22:10:24
เอกสารประกอบการบรรยาย - ระบบท่อในโรงงานอุตสาหกรรม วันที่ 16/11/2013   21:02:45
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 18 วันที่ 29/10/2013   16:42:16
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 17 วันที่ 29/10/2013   16:39:57
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 16 วันที่ 29/10/2013   05:48:14
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 15 วันที่ 27/10/2013   08:19:42
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 14 วันที่ 25/10/2013   05:55:15
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 13 วันที่ 23/10/2013   18:25:38
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 12 วันที่ 23/10/2013   18:02:19
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 11 วันที่ 21/10/2013   22:41:45
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 10 วันที่ 18/10/2013   18:47:31
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 9 วันที่ 18/10/2013   05:57:37
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 8 วันที่ 17/10/2013   06:35:36
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 7 วันที่ 16/10/2013   05:30:35
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 6 วันที่ 16/10/2013   05:30:50
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 5 วันที่ 14/10/2013   06:43:33
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 4 วันที่ 05/10/2013   09:01:31
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 3 วันที่ 05/10/2013   09:01:01
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 2 วันที่ 05/10/2013   09:00:19
E-Learning สภาวิศวกร - องค์ความรู้ผู้ตรวจสอบอาคาร บทที่ 1 วันที่ 05/10/2013   09:02:10
มาตรฐานตรวจสอบห้องเย็น วันที่ 11/09/2013   10:12:41
ทำไมไฟฟ้าลัดวงจร แล้วมักจะเกิดเพลิงไหม้ วันที่ 20/07/2013   17:32:42
สีทนไฟ สำหรับโครงสร้างเหล็กในประเทศไทย วันที่ 17/07/2013   23:53:12
กฎหมายเกี่ยวกับ แนวเขตรถไฟ วันที่ 01/07/2013   11:10:39
อายุความฟ้องวิศวกรผู้ออกแบบ วันที่ 27/02/2013   23:06:49
การระเบิดของฝุ่นโพลีเอทิลีน (Polyethylene Powder) วันที่ 06/02/2013   07:56:54
บทเรียนจากกรณีผู้รับเหมาช่วงได้รับอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรขณะปฏิบัติงาน วันที่ 06/02/2013   07:54:25
อาคารร้างใน กทม. ปัญหาที่ผู้ว่าฯกทม.ต้องแก้ไข วันที่ 27/02/2013   23:07:15 article
เพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร ผู้ครอบครองต้องรับผิด วันที่ 17/11/2012   07:20:58
แก้ปัญหาอาคารสูงเสี่ยงจากไฟไหม้ วันที่ 12/10/2012   19:11:48
การป้องกันอัคคีภัยในอาคารสาธารณะ วันที่ 12/10/2012   23:16:02
บัญญัติ 7 ประการ เพื่อตึกแถวปลอดอัคคีภัย วันที่ 12/10/2012   18:52:58
สารคดีเพลิงไหม้ ครั้งใหญ่ใน กทม วันที่ 12/10/2012   23:44:44
สายดินกับการป้องกันอัคคีภัย วันที่ 12/10/2012   13:55:31
การหนีเพลิงไหม้บนอาคารสูง วันที่ 10/01/2013   15:46:46 article
อาชีพผู้ตรวจสอบอาคารกำลังจะหมดไปหรือ วันที่ 01/09/2012   11:17:44
อาคารท่านซ้อมหนีไฟบ้างหรือยัง วันที่ 29/08/2012   16:38:56
วิธีเอาตัวรอดขณะเกิดแผ่นดินไหว ความเชื่อๆเก่าๆที่ให้หลบใต้โต๊ะ วันที่ 29/08/2012   16:39:24
วิธีการตรวจสอบเบื้องต้นแผ่นดินไหว วันที่ 29/08/2012   16:39:44
ประเด็นสัมภาษณ์ วันที่ 29/08/2012   16:39:59
ท่านจะเห็นข่าวแบบนี้อีกไหม วันที่ 29/08/2012   16:40:15
ทางออกตรวจสอบอาคารอย่างไรจะได้รับใบ ร.1 วันที่ 29/08/2012   16:40:31
ตรวจสอบบ้านง่ายๆหลังน้ำท่วมกันอย่างไร วันที่ 29/08/2012   16:40:48
การใช้อาคารอย่างไรให้ปลอดภัย วันที่ 29/08/2012   16:41:09



Copyright © 2012 All Rights Reserved.


  

 

สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร | THE BUILDING INSPECTORS ASSOCIATION
เลขที่ 487 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) ถ.รามคำแหง
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 0-2184-4612   โทรสาร: 0-2184-4613
http://www.bsa.or.th