ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูลกรมโยธาธิการและผังเมือง
กฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบอาคาร
ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรา ๒๖/๔ (๒) สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร




กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565
วันที่ 27/08/2022   13:47:17

 

กฎกระทรวง
กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย
พ.ศ. 2565
-------------------------------

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 2 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อชีวอนมัย และสภพแวดล้อมในกรทำงน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553

ข้อ 3 ในกฎกระทรวงนี้

“ระบบการจัดกรด้นความปลอดภัย” หมายความว่า ระบบการจัดการที่กำหนดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการของสถานประกอบกิจการเพื่อนำไปปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งครอบคลุมการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

ข้อ 4 นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ ที่มีลูกจ้างจำนวนห้าสิบคนขึ้นไป ต้องจัดให้มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ทั้งนี้ ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวนดังกล่าว

ข้อ 5 ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อย่างน้อยต้องประกอบด้วย

(1) นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

(2) การจัดการองค์กรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

(3) แผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการนำไปปฏิบัติ

(4) การประเมินผลและการทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัย

(5) การปรับปรุงและการพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย

ข้อ 6 ในการกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานตมข้อ 5 (1) นายจ้างต้องมีหน้ที่ ดังต่อไปนี้

(1) จัดให้ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และเผยแพร่ให้ลูกจ้างหรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึง

(2) จัดทำนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามข้อ 5 (1) เป็นภาษาไทยหรือจะมีภาษาอื่นที่ลูกจ้างสามารถเข้าใจด้วยก็ได้ พร้อมลงลายมือชื่อ ประทับตรารับรอง และลงวันที่ให้ถูกต้องครบถ้วน โดยจะจัดทำในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยก็ได้

(3) จัดให้มีการทบทวนนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

ข้อ 7 นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามข้อ 5 (1) ต้องสอดคล้องกับสภาพการทำงานและกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

(1) เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ

(2) เพื่อให้การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อ 8 การจัดการองค์กรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามข้อ 5 (2) อย่างน้อยต้องประกอบด้วย

(1) การจัดให้มีบุคลากรซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมกับบุคลากรแต่ละตำแหน่ง

(2) การฝึกอบรมบุคลากรเกี่ยวกับการดำเนินการตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัย เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอ สามารถปฏิบัติงานที่รับผิดชอบได้อย่างปลอดภัย

(3) การจัดทำเอกสารเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยให้เป็นปัจจุบัน เก็บไว้ในสถานประกอบกิจการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันจัดทำ และพร้อมที่จะให้พนักงาน ตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ โดยจะจัดทำในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยก็ได้

(4) การสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยให้แก่ลูกจ้าง หรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้องในสถานประกอบกิจการ และข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายและมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้แก่ผู้รับเหมาและผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง

ข้อ 9 แผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามข้อ 5 (3) อย่างน้อยต้องมีเนื้อหา ดังต่อไปนี้

(1) การทบทวนสถานะเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ปรากฏอยู่ในบริเวณที่ทำงานของลูกจ้าง ซึ่งรวมถึงการระบายอากาศ สารเคมีอันตราย ความร้อน แสงสว่าง เสียง รังสี ไฟฟ้า ที่อับอากาศ เครื่องจักร อาคาร สถานที่ ตลอดจนสภาพและลักษณะการทำงานอย่างอื่นของลูกจ้าง และในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมจะต้องมีการทบทวนสถานะเบื้องต้นเกี่ยวกับ สภาพแวดล้อม เพื่อให้ทราบถึงอันตรายหรือระดับความเสี่ยงด้วยทุกครั้ง

(2) การนำผลการทบทวนสถานะเบื้องต้นมาวางแผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ งบประมาณ ระยะเวลาในการดำเนินการ และเกณฑ์การประเมินผล

(3) การนำแผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานไปปฏิบัติ

(4) การประเมินผลที่ได้จากการปฏิบัติตามแผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

(5) การนำผลการประเมินตาม (4) ไปปรับปรุงแผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ข้อ 10 ในการประเมินผลและการทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัยตามข้อ 5 (4) อย่างน้อยต้องดำเนินการ ดังนี้

(1) มีการตรวจติดตามและการวัดผลการปฏิบัติงานของระบบการจัดการด้านความปลอดภัย

(2) มีการสอบสวนหาสาเหตุของการเกิดอุบัติการณ์ การเจ็บป่วย โรคจากการทำงานหรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน เพื่อกำหนดมาตรการในการแก้ไขและปรับปรุงระบบการจัดการด้านความปลอดภัย และกำหนดมาตรการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าวซ้ำอีก

(3) มีการทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัย โดยนำผลการดำเนินการตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการมาวิเคราะห์หาสาเหตุของข้อบกพร่องและ แนวโน้มที่จะเกิดข้อบกพร่อง

นายจ้างต้องจัดให้มีการประเมินผลและการทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัยตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

ข้อ 11 การปรับปรุงและการพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัยตามข้อ 5 (5) ต้องนำผลที่ได้จากการประเมินผลและการทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัยตามข้อ 10 มาปรับปรุงแก้ไขระบบการจัดการด้านความปลอดภัยด้วย

การปรับปรุงและการพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัยตามวรรคหนึ่ง ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ข้อ 12 เพื่อให้ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้นายจ้างของสถานประกอบกิจการต้อง

(1) ควบคุมดูแลการดำเนินการตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัย

(2) เปิดโอกาสให้ลูกจ้างทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัย

(3) จัดให้ลูกจ้างสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยได้ โดยคำนึงถึงการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

(4) จัดให้มีช่องทางในการรับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของลูกจ้าง เพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาดำเนินการปรับปรุง แก้ไขระบบการจัดการด้านความปลอดภัย

ข้อ 13 ในกรณีที่นายจ้างได้จัดให้มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัยตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization for Organization : ISO) มาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) มาตรฐานของสถาบันมาตรฐานสหราชอาณาจักร (British Standards Institution : BSI) มาตรฐานของสำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ (Occupational Safety and Health Administration : OSHA) มาตรฐานของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI) มาตรฐานของประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards : AS/NZS) มาตรฐานของสมาพันธ์การกำหนดมาตรฐานของประเทศแคนาดา (Canadian Standards Association : CSA) หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ให้ถือว่าได้จัดให้มี ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยตามกฎกระทรวงนี้แล้ว

 

ให้ไว้ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

สุชาติ ชมกลิ่น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

 

บัญชีท้ายกฎกระทรวงกหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยพ.ศ. ๒๕๖๕

ลำดับ

สถานประกอบกิจการ

1

อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่

2

อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม

3

อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี

4

อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นนามันปิโตรเลียม

5

อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ

6

อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์

7

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร

8

อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม

9

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ

10

อุตสาหกรรมสิ่งทอ

11

อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย

12

อุตสาหกรรมเครื่องหนัง

13

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้

14

อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ

15

อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์

16

อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์

17

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง

18

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก

19

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ

20

อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ

21

อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

22

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า

23

อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล

24

อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสาหรับยานพาหนะ

25

อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์

26

อุตสาหกรรมเครื่องประดับ

27

อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี

28

อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกาลังกาย

29

อุตสาหกรรมของเล่น

30

อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์

31

อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าการจัดส่งหรือการจ่ายไฟฟ้า

32

อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ

33

อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก

34

อุตสาหกรรมการผลิตการเก็บหรือการจำหน่ายไอน้ำ

35

อุตสาหกรรมการเลียงสัตว์หรือการเพาะปลูก

36

สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง

37

คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง

38

การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

39

อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่

40

อุตสาหกรรมการแต่งแร่การขุดแร่รายย่อยหรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่

41

การก่อสร้างการดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

42

อุตสาหกรรมการขนส่ง

43

การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ

44

กิจการคลังสินค้ากิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้าไซโล และห้องเย็น

45

กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม

46

การติดตั้งการซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

47

โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม

48

กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

49

ห้างสรรพสินค้าธุรกิจค้าปลีกหรือธุรกิจค้าส่ง

50

ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า

51

โรงพยาบาล

52

การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม

53

การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์

54

สวนสัตว์หรือสวนสนุก

 

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้คือโดยที่มาตรา 8 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 บัญญัติให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งระบบการจัดการด้านความปลอดภัยเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ สมควรจะต้องมีระบบการจัดการด้านความปลอดภัยที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยมีการทบทวน ปรับปรุงและแก้ไขอย่างต่อเนื่อง อันจะทำให้ลูกจ้างมีความปลอดภัยในการทางานยิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

 




กฎหมาย




Copyright © 2012 All Rights Reserved.


  

 

สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร | THE BUILDING INSPECTORS ASSOCIATION
เลขที่ 487 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) ถ.รามคำแหง
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 0-2184-4612   โทรสาร: 0-2184-4613
http://www.bsa.or.th