ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ ๔๔๑๓ (พ.ศ. ๒๕๕๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. ๒๕๑๑
เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ระบบการจัดการพลังงาน – ข้อกำหนดและข้อแนะนำในการใช้
-----------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบการจัดการพลังงาน-ข้อกำหนดและข้อแนะนำในการใช้ มาตรฐานเลขที่ มอก. 50001 - 2555 ไว้ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕
หม่อมราชวงศ์ พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ระบบการจัดการพลังงาน -
ข้อกำหนดและข้อแนะนำในการใช้
0. บทนำ
มาตรฐานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถใช้จัดระบบและกระบวนการที่จำเป็นเพื่อการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน ประสิทธิภาพพลังงาน ลักษณะการใช้พลังงาน และปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งจะช่วยให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้นทุนด้านพลังงาน โดยสามารถประยุกต์ใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท และทุกขนาด ความสำเร็จในการนำไปปฏิบัติขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นของบุคลากรทุกระดับและทุกหน้าที่ภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารสูงสุด
มาตรฐานนี้ระบุข้อกำหนดของระบบการจัดการพลังงานสำหรับองค์กรในการกำหนดนโยบายพลังงาน และการนำไปปฏิบัติ รวมถึง การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนปฏิบัติการ ซึ่งคำนึงถึงข้อกำหนดด้านกฎหมาย และข้อมูลลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ ระบบการจัดการพลังงานช่วยให้องค์กรบรรลุนโยบาย เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน และแสดงความเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ มาตรฐานนี้ประยุกต์ใช้ได้กับกิจกรรมภายใต้การควบคุมขององค์กรและสามารถปรับให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะขององค์กรรวมถึงความซับซ้อนของระบบ ระดับของเอกสาร และทรัพยากร
มาตรฐานนี้ใช้หลักการการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย การวางแผน – การปฏิบัติ– การตรวจ– การแก้ไขและปรับปรุง (Plan – Do – Check – Act; PDCA) เข้าไปในกิจกรรมประจำในการจัดการพลังงานขององค์กรรายละเอียดดังรูปที่ 1
หมายเหตุ แนวทางนี้สามารถแสดงรายละเอียดได้ คือ
- การวางแผน : ดำเนินการทบทวนด้านพลังงานและจัดทำข้อมูลฐานด้านพลังงาน ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงาน วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนปฏิบัติการที่จำเป็นเพื่อให้ได้ผลที่จะปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานให้เป็นไปตามนโยบายพลังงานขององค์กร
- การปฏิบัติ : การนำแผนการจัดการพลังงานไปปฏิบัติ
- การตรวจ : เฝ้าระวังและวัดกระบวนการและลักษณะของการดำเนินงานที่มีต่อสมรรถนะด้านพลังงานเทียบกับนโยบายพลังงานและวัตถุประสงค์ด้านพลังงาน
- การแก้ไขและปรับปรุง : ดำเนินการเพื่อปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานและระบบการจัดการพลังงานอย่างต่อเนื่อง

การใช้มาตรฐานนี้อย่างกว้างขวางช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานที่มีอยู่และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และผลกระทบอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ขึ้นกับชนิดของพลังงานที่ใช้
มาตรฐานนี้ใช้สำหรับการรับรอง การจดทะเบียน และการรับรองตนเองขององค์กร ไม่ได้ระบุข้อกำหนดสำหรับสมรรถนะด้านพลังงานที่นอกเหนือจากความมุ่งมั่นตามนโยบายพลังงานขององค์กร และข้อบังคับขององค์กรในการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น องค์กรที่มีการดำเนินงานเหมือนกัน แม้ว่าจะมีสมรรถนะด้านพลังงานที่แตกต่างกันก็สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ได้
มาตรฐานนี้มีข้อกำหนดพื้นฐานที่สำคัญเช่นเดียวกับมาตรฐานระบบบริหารจัดการของ ISO ซึ่งสอดคล้องกับ ISO 9001 และ ISO 14001
หมายเหตุ ภาคผนวก ข แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมาตรฐานนี้กับ ISO 9001:2008 ISO 14001:2004 และ ISO 22000:2005
องค์กรสามารถบูรณาการมาตรฐานระบบการจัดการพลังงานกับระบบบริหารจัดการอื่น รวมถึงที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
1. ขอบข่าย
มาตรฐานนี้ระบุข้อกำหนดสำหรับองค์กรในการจัดทำ นำไปปฏิบัติ รักษาไว้ และปรับปรุงระบบการจัดการ พลังงานเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินงานอย่างเป็นระบบ สามารถบรรลุผลการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน รวมถึงประสิทธิภาพพลังงาน ลักษณะการใช้พลังงาน และปริมาณการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง
มาตรฐานนี้ระบุข้อกำหนดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับลักษณะและปริมาณการใช้พลังงาน รวมถึงการวัด การจัดทำเอกสารและการรายงาน การออกแบบและการจัดหาอุปกรณ์ ระบบ กระบวนการ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะด้านพลังงาน
มาตรฐานนี้ใช้ได้กับตัวแปรทุกชนิดที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านพลังงาน ซึ่งองค์กรสามารถเฝ้าระวังและควบคุมได้โดยไม่ได้กำหนดเกณฑ์เฉพาะที่เกี่ยวกับสมรรถนะด้านพลังงาน และสามารถใช้ได้อย่างอิสระและบูรณาการกับระบบบริหารจัดการอื่นได้
องค์กรที่ประสงค์จะสร้างความเชื่อมั่นว่าสามารถบรรลุตามนโยบายพลังงาน และแสดงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบผลสำเร็จดังกล่าว สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้เพื่อรับรองตนเองหรือรับรองโดยหน่วยรับรอง
2. มาตรฐานอ้างอิง
ไม่มีมาตรฐานอ้างอิง
3. บทนิยาม
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ ให้เป็นไปตามบทนิยามต่อไปนี้
3.1 ขอบเขต (boundaries)
การจำกัดขนาดทางกายภาพหรือพื้นที่และ/หรือหน่วยงาน ตามที่องค์กรกำหนด
ตัวอย่างเช่น กระบวนการ กลุ่มกระบวนการ สถานประกอบการแห่งใดแห่งหนึ่ง หลายแห่ง หรือทั้งองค์กร
3.2 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (continual improvement)
กระบวนการที่เกิดขึ้นซ้ำซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มสมรรถนะด้านพลังงาน และยกระดับระบบการจัดารพลังงาน
หมายเหตุ 1 กระบวนการกำหนดวัตถุประสงค์และหาโอกาสในการปรับปรุงเป็นกระบวนการต่อเนื่อง
หมายเหตุ 2 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานโดยรวมซึ่งสอดคล้องกับนโยบายพลังงานขององค์กร
3.3 การแก้ไข (correction)
กิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อกำจัดความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่ตรวจพบ
3.4 การปฏิบัติการแก้ไข (corrective action)
กิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อกำจัดสาเหตุของความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่ตรวจพบ
หมายเหตุ 1 สาเหตุของความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดอาจมีมากกว่า 1 สาเหตุ
หมายเหตุ 2 การปฏิบัติการแก้ไขเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ ในขณะที่การปฏิบัติการป้องกันเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นใหม่
3.5 พลังงาน (energy)
ไฟฟ้า เชื้อเพลิง ไอน้ำ ความร้อน อากาศอัด และพลังงานรูปแบบอื่นๆ
หมายเหตุ 1 ตามวัตถุประสงค์ของมาตรฐานนี้ พลังงานหมายถึงพลังงานรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงพลังงานหมุนเวียนซึ่งสามารถจัดหา จัดเก็บ หรือจัดการเพื่อใช้กับอุปกรณ์หรือกระบวนการ หรือนำกลับมาใช้ใหม่
หมายเหตุ 2 พลังงานอาจกำหนดในรูปของขีดความสามารถของระบบในการทำงาน
3.6 ข้อมูลฐานด้านพลังงาน (energy baseline)
ปริมาณเชิงอ้างอิงเพื่อใช้เป็นฐานในการเปรียบเทียบสมรรถนะด้านพลังงาน
หมายเหตุ 1 ข้อมูลฐานด้านพลังงานตามช่วงเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้
หมายเหตุ 2 ข้อมูลฐานด้านพลังงานสามารถใช้ตัวแปรต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะ และ/หรือปริมาณการใช้พลังงาน ตัวอย่างเช่น ระดับการผลิต อุณหภูมิแต่ละวัน (อุณหภูมิภายนอกอาคาร) เป็นต้น
หมายเหตุ 3 ข้อมูลฐานด้านพลังงานใช้ในการคำนวณค่าการประหยัดพลังงาน ซึ่งใช้อ้างอิงก่อนและหลังการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน
3.7 ปริมาณการใช้พลังงาน (energy consumption)
ปริมาณของพลังงานที่ใช้
3.8 ประสิทธิภาพพลังงาน (energy efficiency)
อัตราส่วนหรือความสัมพันธ์เชิงปริมาณระหว่างผลของสมรรถนะด้านพลังงาน การบริการ สินค้า หรือพลังงานที่ได้ (output) เทียบกับพลังงานที่ใช้ (input)
ตัวอย่างเช่น ประสิทธิภาพการเปลี่ยนรูปพลังงาน (conversion efficiency) อัตราส่วนของพลังงานที่ต้องการ/พลังงานที่ใช้ ผลที่ได้/พลังงานที่ใช้ พลังงานที่ใช้ในการดำเนินการทางทฤษฎี/พลังงานที่ใช้จริง
หมายเหตุ พลังงานที่ใช้และผลที่ได้ต้องชัดเจนทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพและต้องวัดได้
3.9 ระบบการจัดการพลังงาน (energy management system; EnMS)
กลุ่มของกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเพื่อการกำหนดนโยบายพลังงาน วัตถุประสงค์ด้านพลังงาน กระบวนการ และขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
3.10 ทีมจัดการพลังงาน (energy management team)
บุคคล (คณะบุคคล) ที่รับผิดชอบการปฏิบัติกิจกรรมตามระบบการจัดการพลังงาน ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน
หมายเหตุ จำนวนบุคลากรในทีมขึ้นอยู่กับลักษณะและขนาดขององค์กรและทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งอาจมีเพียงหนึ่งคน เช่น ผู้แทนฝ่ายผู้บริหาร
3.11 วัตถุประสงค์ด้านพลังงาน (energy objective)
ผลหรือผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้ซึ่งสัมพันธ์กับสมรรถนะด้านพลังงานที่ได้ปรับปรุงแล้ว เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายพลังงานขององค์กร
3.12 สมรรถนะด้านพลังงาน (energy performance)
ผลที่วัดได้ที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพพลังงาน ลักษณะการใช้พลังงาน และปริมาณการใช้พลังงาน
หมายเหตุ 1 องค์กรสามารถวัดผลโดยเปรียบเทียบกับนโยบายพลังงาน วัตถุประสงค์ด้านพลังงานเป้าหมาย และข้อกำหนดเกี่ยวกับสมรรถนะด้านพลังงานอื่นๆ
หมายเหตุ 2 สมรรถนะด้านพลังงานเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสมรรถนะของระบบการจัดการพลังงาน
3.13 ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงาน (energy performance indicator; EnPI)
ค่าเชิงปริมาณหรือผลการวัดสมรรถนะด้านพลังงานตามที่องค์กรกำหนดไว้
หมายเหตุ EnPI สามารถแสดงโดยการวัด อัตราส่วนอย่างง่าย หรือแบบจำลองที่ซับซ้อน
3.14 นโยบายพลังงาน (energy policy)
ถ้อยแถลงที่เป็นทางการของผู้บริหารสูงสุดขององค์กรเพื่อแสดงถึงทิศทางและเจตนารมณ์ขององค์กรซึ่งเกี่ยวข้องกับสมรรถนะด้านพลังงาน
หมายเหตุ นโยบายพลังงานให้กรอบที่ใช้ในการดำเนินการและกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายพลังงาน
3.15 การทบทวนด้านพลังงาน (energy review)
การพิจารณาสมรรถนะด้านพลังงานขององค์กรโดยใช้ข้อมูลและข่าวสารซึ่งนำไปสู่การชี้บ่งโอกาสในการปรับปรุง
หมายเหตุ ในมาตรฐานอื่น ซึ่งระบุเรื่องการชี้บ่งและทบทวนประเด็นด้านพลังงานหรือรูปแบบการใช้พลังงาน (energy profile) เป็นส่วนหนึ่งในแนวคิดเรื่องการทบทวนด้านพลังงาน
3.16 บริการด้านพลังงาน (energy service)
กิจกรรมและผลของกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดหา และ/หรือ การใช้พลังงาน
3.17 เป้าหมายพลังงาน (energy targets)
รายละเอียดและข้อกำหนดสมรรถนะด้านพลังงานที่สามารถวัดในเชิงปริมาณได้ที่นำมาใช้ในองค์กรหรือบางส่วนขององค์กร อันเนื่องมาจากวัตถุประสงค์ด้านพลังงานและจำเป็นต้องกำหนดและทำให้บรรลุผลเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ด้านพลังงานที่กำหนดไว้
3.18 ลักษณะการใช้พลังงาน (energy use)
ลักษณะหรือชนิดของการใช้พลังงาน
หมายเหตุ ตัวอย่างเช่น การถ่ายเทอากาศ แสงสว่าง การให้ความร้อน การทำความเย็น การขนส่ง กระบวนการ หรือสายการผลิต
3.19 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (interested party)
บุคคล หรือกลุ่มบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากสมรรถนะด้านพลังงานขององค์กร
3.20 การตรวจประเมินภายในองค์กร (internal audit)
กระบวนการที่เป็นระบบ เป็นอิสระ และเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานและการประเมินผลที่เป็นรูปธรรม เพื่อพิจารณาความเป็นไปตามข้อกำหนด
หมายเหตุ รายละเอียดเพิ่มเติมแสดงไว้ในภาคผนวก ก
3.21 ความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (nonconformity)
การไม่สามารถทำให้เป็นไปตามข้อกำหนด
3.22 องค์กร (organization)
บริษัท วิสาหกิจ ผู้ประกอบการ หน่วยงาน หรือสถาบัน หรือส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กรเหล่านี้ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีภารกิจและมีการบริหารของตนเอง รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลลักษณะการใช้พลังงาน และปริมาณการใช้พลังงาน
หมายเหตุ องค์กรอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
3.23 การปฏิบัติการป้องกัน (preventive action)
กิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อกำจัดสาเหตุของแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
หมายเหตุ 1 แต่ละแนวโน้มความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดอาจมีมากกว่าหนึ่งสาเหตุ
หมายเหตุ 2 การปฏิบัติการป้องกันดำเนินการเพื่อป้องกันการเกิดข้อบกพร่อง ในขณะที่การปฏิบัติการแก้ไขดำเนินการเพื่อป้องกันการเกิดข้อบกพร่องซ้ำ
3.24 ขั้นตอนการดำเนินงาน (procedure)
วิธีดำเนินการในกิจกรรมหรือกระบวนการตามที่ระบุไว้
หมายเหตุ ขั้นตอนการดำเนินงานอาจจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
3.25 บันทึก (record)
เอกสารระบุผลที่เกิดขึ้น หรือแสดงถึงหลักฐานของกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว
3.26 ขอบข่าย (scope)
กิจกรรม สถานที่ประกอบกิจการที่องค์กรได้กำหนดไว้ในระบบการจัดการพลังงาน ซึ่งอาจครอบคลุมหลายขอบเขตได้
หมายเหตุ ขอบข่ายดังกล่าวรวมถึงพลังงานที่เกี่ยวกับการขนส่ง
3.27 ลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ (significant energy use)
ลักษณะการใช้พลังงานที่ส่งผลให้เกิดปริมาณการใช้พลังงานมาก และ/หรือ สามารถนำมาพิจารณาถึงแนวโน้มการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน
หมายเหตุ องค์กรเป็นผู้กำหนดเกณฑ์การพิจารณานัยสำคัญ
3.28 ผู้บริหารสูงสุด (top management)
บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งนำและควบคุมองค์กรในระดับสูงสุด
หมายเหตุ ผู้บริหารสูงสุดควบคุมองค์กรตามที่ระบุไว้ในขอบข่ายและขอบเขตของระบบการจัดการพลังงาน
4. ข้อกำหนดระบบการจัดการพลังงาน
4.1 ข้อกำหนดทั่วไป
องค์กรต้อง
ก) จัดระบบ จัดทำเอกสาร นำไปปฏิบัติ รักษา และปรับปรุงระบบการจัดการพลังงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐานนี้
ข) กำหนดขอบข่ายและขอบเขตของระบบการจัดการพลังงานและจัดทำเป็นเอกสาร
ค) กำหนดวิธีการในการบรรลุข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานและระบบการจัดการพลังงานอย่างต่อเนื่อง
4.2 ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร
4.2.1 ผู้บริหารสูงสุด
ผู้บริหารสูงสุดต้องแสดงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนระบบการจัดการพลังงานและปรับปรุงให้เกิดประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง โดย
ก) กำหนดนโยบายพลังงาน นำไปปฏิบัติ และรักษาไว้
ข) แต่งตั้งผู้แทนฝ่ายบริหารด้านพลังงานและให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งทีมจัดการพลังงาน
ค) จัดให้มีทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อการจัดระบบ นำไปปฏิบัติ รักษา และปรับปรุงระบบการจัดการพลังงานและผลของสมรรถนะด้านพลังงาน
หมายเหตุ ทรัพยากร รวมถึง ทรัพยากรบุคคล ทักษะเฉพาะ เทคโนโลยี และการเงิน
ง) ชี้บ่งขอบข่ายและขอบเขตของระบบการจัดการพลังงาน
จ) สื่อสารให้บุคลากรภายในองค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการพลังงาน
ฉ) ทำให้มั่นใจว่าได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายพลังงาน
ช) ทำให้มั่นใจว่าตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงานมีความเหมาะสมกับองค์กร
ซ) มีการพิจารณาสมรรถนะด้านพลังงานในแผนระยะยาว
ฌ) ทำให้มั่นใจว่ามีการวัดผลการดำเนินงานและรายงานตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้
ญ) มีการทบทวนการบริหารงาน
4.2.2 ผู้แทนฝ่ายบริหาร
ผู้บริหารสูงสุดต้องแต่งตั้งบุคคล (อาจมากกว่าหนึ่งคน) ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบอื่นอยู่แล้ว และมีทักษะและความสามารถที่เหมาะสมเป็นผู้แทนฝ่ายบริหาร โดยมีความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
ก) ทำให้มั่นใจว่ามีการจัดระบบการจัดการพลังงาน นำไปปฏิบัติ รักษาไว้ และปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานนี้อย่างต่อเนื่อง
ข) ชี้บ่งบุคลากรที่มีอำนาจหน้าที่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อปฏิบัติงานร่วมกับผู้แทนฝ่ายบริหารในการสนับสนุนกิจกรรมด้านการจัดการพลังงาน
ค) รายงานสมรรถนะด้านพลังงานต่อผู้บริหารสูงสุด
ง) รายงานสมรรถนะของระบบการจัดการพลังงานต่อผู้บริหารสูงสุด
จ) ทำให้มั่นใจว่าการวางแผนกิจกรรมด้านการจัดการพลังงานสามารถสนับสนุนนโยบายพลังงานขององค์กรได้
ฉ) กำหนดและสื่อสารเกี่ยวกับความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่เพื่อช่วยทำให้เกิดประสิทธิผลในการจัดการพลังงาน
ช) กำหนดเกณฑ์และวิธีการที่จำเป็นเพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติและการควบคุมระบบการจัดการพลังงานมีประสิทธิผล
ซ) ส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับในองค์กรมีความตระหนักต่อนโยบายพลังงานและวัตถุประสงค์ด้านพลังงาน
4.3 นโยบายพลังงาน
นโยบายพลังงานต้องระบุความมุ่งมั่นขององค์กรในการบรรลุผลการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน ผู้บริหารสูงสุดต้องกำหนดและมั่นใจว่านโยบายพลังงาน
ก) เหมาะสมกับลักษณะและปริมาณการใช้พลังงานขององค์กร
ข) แสดงความมุ่งมั่นในการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง
ค) แสดงความมุ่งมั่นที่จะมีข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ง) แสดงความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎหมายและข้อกำหนดอื่นที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการใช้พลังงาน ปริมาณการใช้พลังงาน และประสิทธิภาพพลังงาน
จ) มีแนวทางในการกำหนดและทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายพลังงาน
ฉ) สนับสนุนการจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการด้านพลังงานที่มีประสิทธิภาพและทำให้เกิดการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน
ช) มีการจัดทำเป็นเอกสารและสื่อสารแก่บุคลากรทุกระดับภายในองค์กร
ซ) มีการทบทวนและปรับปรุงตามความจำเป็นอย่างสม่ำเสมอ
4.4 การวางแผนด้านพลังงาน
4.4.1 ข้อกำหนดทั่วไป
องค์กรต้องวางแผนด้านพลังงานและจัดทำเป็นเอกสาร โดยต้องสอดคล้องกับนโยบายพลังงานและต้องทำให้เกิดกิจกรรมการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง
การวางแผนด้านพลังงานต้องรวมถึงการทบทวนกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรซึ่งส่งผลต่อสมรรถนะด้านพลังงาน
หมายเหตุ แนวคิดในการวางแผนด้านพลังงานดังผังที่แสดงไว้ในภาคผนวก ก.2
4.4.2 ข้อกำหนดด้านกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ
องค์กรต้องชี้บ่ง นำไปปฏิบัติ และเข้าถึงข้อกำหนดด้านกฎหมายและข้อกำหนดอื่นที่เกี่ยวข้อง
องค์กรต้องกำหนดวิธีปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการใช้พลังงาน ปริมาณการใช้พลังงาน และประสิทธิภาพพลังงาน และต้องมั่นใจว่าได้มีการนำข้อกำหนดเหล่านี้มาใช้ในการจัดระบบนำไปปฏิบัติ และรักษาไว้ซึ่งระบบการจัดการพลังงาน
องค์กรต้องทบทวนข้อกำหนดด้านกฎหมายและข้อกำหนดอื่นตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้
4.4.3 การทบทวนด้านพลังงาน
องค์กรต้องจัดให้มี บันทึก และรักษาไว้ซึ่งการทบทวนด้านพลังงาน โดยจัดทำวิธีการและเกณฑ์กำหนดเป็นเอกสาร ในการทบทวนด้านพลังงาน องค์กรต้อง
ก) วิเคราะห์ลักษณะและปริมาณการใช้พลังงาน บนพื้นฐานของการวัดและข้อมูลอื่น เช่น
- ชี้บ่งแหล่งพลังงานที่ใช้ในปัจจุบัน
- ประเมินลักษณะและปริมาณการใช้พลังงานในอดีตและปัจจุบัน
ข) ชี้บ่งลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญจากผลของการวิเคราะห์ลักษณะและปริมาณการใช้พลังงาน เช่น
- ชี้บ่งสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ ระบบ กระบวนการ และบุคลากรที่ทำงานให้แก่องค์กรหรือในนามขององค์กรซึ่งส่งผลต่อลักษณะและปริมาณการใช้พลังงานอย่างมีนัยสำคัญ
- ชี้บ่งตัวแปรอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งส่งผลต่อลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ
- พิจารณาสมรรถนะด้านพลังงานของสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ ระบบ และกระบวนการที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสัมพันธ์กับลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญตามที่ชี้บ่งไว้
- ประมาณการลักษณะการใช้พลังงานและปริมาณการใช้พลังงานในอนาคต
ค) ชี้บ่ง จัดลำดับความสำคัญ และบันทึกโอกาสในการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน
หมายเหตุ โอกาสในการปรับปรุงอาจสัมพันธ์กับแหล่งพลังงานที่มีความเป็นไปได้ การใช้พลังงานทดแทน หรือแหล่งพลังงานทางเลือกอื่น เช่น พลังงานจากของเสีย
ต้องปรับปรุงการทบทวนด้านพลังงานให้เป็นปัจจุบันตามช่วงเวลาที่กำหนดและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ ระบบ หรือกระบวนการ
4.4.4 ข้อมูลฐานด้านพลังงาน
องค์กรต้องจัดทำข้อมูลฐานด้านพลังงานโดยใช้ข้อมูลการทบทวนด้านพลังงานเบื้องต้น การใช้ข้อมูลในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับลักษณะและปริมาณการใช้พลังงานขององค์กร การเปลี่ยนแปลงสมรรถนะด้านพลังงานต้องมีการตรวจวัดเปรียบเทียบกับข้อมูลฐานด้านพลังงาน
องค์กรต้องปรับข้อมูลฐานด้านพลังงานในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้
- ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงานไม่สะท้อนลักษณะการใช้พลังงานและปริมาณการใช้พลังงานขององค์กร หรือ
- มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการ รูปแบบการนำไปปฏิบัติ หรือระบบพลังงาน หรือ
- สืบเนื่องจากวิธีการที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
องค์กรต้องบันทึกข้อมูลฐานด้านพลังงานและเก็บรักษาไว้
4.4.5 ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงาน
องค์กรต้องชี้บ่งตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงานที่เหมาะสมกับการเฝ้าระวังและการวัดสมรรถนะด้านพลังงาน วิธีการในการกำหนดและปรับปรุงตัวชี้วัดต้องจัดทำเป็นบันทึกและมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ
องค์กรต้องทบทวนตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงานและเปรียบเทียบกับข้อมูลฐานด้านพลังงานตามความเหมาะสม
4.4.6 วัตถุประสงค์ด้านพลังงาน เป้าหมายพลังงาน และแผนปฏิบัติการด้านการจัดการพลังงาน
องค์กรต้องกำหนด จัดทำเป็นเอกสาร นำไปปฏิบัติ และรักษาไว้ซึ่งวัตถุประสงค์และเป้าหมายพลังงานในหน่วยงานแต่ละระดับ กระบวนการ หรือหน่วยประกอบการที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร โดยต้องกำหนดกรอบระยะเวลาในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
วัตถุประสงค์และเป้าหมายพลังงานต้องสอดคล้องกับนโยบายพลังงาน เป้าหมายพลังงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ด้านพลังงาน
ในการกำหนดและทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมาย องค์กรต้องคำนึงถึงข้อกำหนดด้านกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ และโอกาสในการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานตามที่ชี้บ่งไว้ในการทบทวนด้านพลังงาน รวมทั้งต้องพิจารณาด้านการเงิน เงื่อนไขการดำเนินงานและธุรกิจ ทางเลือกด้านเทคโนโลยี และทัศนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
องค์กรต้องจัดทำ นำไปปฏิบัติ และรักษาไว้ซึ่งแผนปฏิบัติการด้านการจัดการพลังงานเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายพลังงาน แผนปฏิบัติการด้านการจัดการพลังงานต้องรวมถึง :
ก) การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ
ข) วิธีการและกรอบระยะเวลาซึ่งต้องบรรลุแต่ละเป้าหมาย
ค) มีการทวนสอบวิธีการที่ใช้ในการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน
ง) มีวิธีการทวนสอบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง
ต้องจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการจัดการพลังงานเป็นเอกสาร และปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้
4.5 การนำไปปฏิบัติและการดำเนินการ
4.5.1 ข้อกำหนดทั่วไป
องค์กรต้องนำแผนปฏิบัติการและผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการวางแผนไปใช้ในการดำเนินการ
4.5.2 ความสามารถ การฝึกอบรม และความตระหนัก
องค์กรต้องมั่นใจว่าบุคลากรที่ปฏิบัติงานให้องค์กรหรือในนามขององค์กรซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญมีความสามารถ ด้านการศึกษา การฝึกอบรม ทักษะ และประสบการณ์ที่เหมาะสม องค์กรต้องชี้บ่งความจำเป็นในการฝึกอบรมร่วมกับการควบคุมลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ และการดำเนินการในระบบการจัดการพลังงาน โดยต้องจัดให้มีการฝึกอบรมหรือดำเนินการใด ๆ ที่เหมาะสมกับความจำเป็นดังกล่าว และต้องจัดทำบันทึกที่เหมาะสมและเก็บรักษาไว้
องค์กรต้องมั่นใจว่าบุคลากรที่ปฏิบัติงานให้องค์กรหรือในนามขององค์กร มีความตระหนักต่อ
ก) ความสำคัญในการปฏิบัติตามนโยบายพลังงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน และข้อกำหนดของระบบการจัดการพลังงาน
ข) บทบาท ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ในการบรรลุข้อกำหนดของระบบการจัดการพลังงาน
ค) ประโยชน์ของการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน
ง) ผลกระทบที่แท้จริงหรือแนวโน้มที่มีต่อลักษณะและปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเกิดจากกิจกรรมและวิธีดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมที่มีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย และแนวโน้มของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงานที่กำหนดไว้
4.5.3 การสื่อสาร
องค์กรต้องสื่อสารเกี่ยวกับสมรรถนะด้านพลังงานและระบบการจัดการพลังงานภายในองค์กร ที่เหมาะสมกับขนาดขององค์กร
องค์กรต้องกำหนดและดำเนินการกระบวนการซึ่งให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้องค์กรหรือในนามขององค์กรสามารถเสนอข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบการจัดการพลังงาน
องค์กรต้องตัดสินใจและทำเป็นเอกสารเกี่ยวกับการสื่อสารถึงนโยบายพลังงาน ระบบการจัดการพลังงาน และสมรรถนะด้านพลังงานแก่บุคคลภายนอก กรณีที่ตัดสินใจให้มีการสื่อสารแก่บุคคลภายนอก องค์กรต้องกำหนดวิธีการเพื่อนำไปปฏิบัติ
4.5.4 เอกสาร
4.5.4.1 ข้อกำหนดด้านเอกสาร
องค์กรต้องกำหนด นำไปปฏิบัติ และรักษาไว้ซึ่งข้อมูลในรูปของกระดาษ อิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อใด ๆ เพื่อแสดงถึงกิจกรรมหลักในระบบการจัดการพลังงานและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเอกสารในระบบการจัดการพลังงานรวมถึง
ก) ขอบข่ายและขอบเขตของระบบการจัดการพลังงาน
ข) นโยบายพลังงาน
ค) วัตถุประสงค์และเป้าหมายพลังงาน และแผนปฏิบัติการ
ง) เอกสาร และบันทึกตามที่มาตรฐานนี้กำหนด
จ) เอกสารอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นตามที่องค์กรกำหนด
หมายเหตุ ระดับของเอกสารของแต่ละองค์กรอาจแตกต่างกันได้เนื่องจาก
ก) ขนาดขององค์กรและประเภทของกิจกรรม
ข) ความซับซ้อนของกระบวนการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
ค) ความสามารถของบุคลากร
4.5.4.2 การควบคุมเอกสาร
องค์กรต้องควบคุมเอกสารตามที่กำหนดในมาตรฐานนี้และตามที่กำหนดในระบบการจัดการพลังงาน ซึ่งรวมถึงเอกสารทางวิชาการ ถ้ามี
องค์กรต้องจัดทำ นำไปปฏิบัติ และรักษาไว้ซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อ
ก) อนุมัติเอกสารก่อนการประกาศใช้
ข) ทบทวนและปรับปรุงเอกสารให้ทันสมัยเป็นระยะ ๆ ตามความจำเป็น
ค) ทำให้มั่นใจว่ามีการชี้บ่งการเปลี่ยนแปลงและสถานะปัจจุบันของเอกสาร
ง) ทำให้มั่นใจว่ามีเอกสารที่ถูกต้อง ณ สถานที่ปฏิบัติงาน
จ) ทำให้มั่นใจว่าเอกสารที่มีอยู่ยังคงสภาพที่อ่านได้และสามารถชี้บ่งได้
ฉ) ทำให้มั่นใจว่าเอกสารภายนอกซึ่งองค์กรพิจารณาว่ามีความจำเป็นในการวางแผนและดำเนินการในระบบการจัดการพลังงานสามารถชี้บ่งและควบคุมการแจกจ่ายได้
ช) ป้องกันการนำเอกสารที่ยกเลิกแล้วไปใช้โดยไม่ตั้งใจ และมีการชี้บ่งเอกสารซึ่งต้องเก็บไว้ด้วยวัตถุประสงค์ใด ๆ อย่างเหมาะสม
4.5.5 การควบคุมด้านปฏิบัติการ
องค์กรต้องชี้บ่งและวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ ในการปฏิบัติการ และการบำรุงรักษากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ และสอดคล้องกับนโยบายพลังงาน วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถดำเนินการภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด โดยวิธีการดังต่อไปนี้
ก) กำหนดเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการปฏิบัติการและการบำรุงรักษา ในกรณีที่ไม่มีเกณฑ์ดังกล่าวจะส่งผลให้ประสิทธิผลของสมรรถนะด้านพลังงานเบี่ยงเบนไปอย่างมีนัยสำคัญ
ข) ปฏิบัติการและบำรุงรักษาให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
ค) สื่อสารเกี่ยวกับการควบคุมด้านปฏิบัติการแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้องค์กรหรือในนามขององค์กรอย่างเหมาะสม
หมายเหตุ ในการวางแผนรวมถึงการจัดหาอุปกรณ์ในสถานการณ์จำเป็นหรือฉุกเฉินหรือมีแนวโน้มที่จะเกิดภัยพิบัติ องค์กรอาจนำสมรรถนะด้านพลังงานมาใช้ในการพิจารณาวิธีดำเนินการในสภาวการณ์เหล่านี้
4.5.6 การออกแบบ
องค์กรต้องพิจารณาโอกาสในการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานและการควบคุมด้านปฏิบัติการในการออกแบบใหม่ ดัดแปลง หรือบูรณะ หน่วยประกอบการ อุปกรณ์ ระบบ และกระบวนการที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านพลังงานอย่างมีนัยสำคัญ
ต้องนำผลการประเมินสมรรถนะด้านพลังงานมาใช้ในข้อกำหนดรายละเอียด แบบ และกิจกรรมการจัดหาของโครงการที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
องค์กรต้องบันทึกผลของกิจกรรมการออกแบบดังกล่าว
4.5.7 การจัดหาบริการด้านพลังงาน ผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ และพลังงาน
ในการจัดหาบริการด้านพลังงาน ผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่มีหรืออาจมีผลกระทบต่อลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ องค์กรต้องแจ้งให้ผู้ส่งมอบทราบว่าการจัดหาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินสมรรถนะด้านพลังงาน
ในการจัดหาผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ และบริการที่ใช้พลังงานซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อผลสมรรถนะด้านพลังงาน องค์กรต้องกำหนดและปฏิบัติตามเกณฑ์การประเมินลักษณะการใช้พลังงานปริมาณการใช้พลังงาน และประสิทธิภาพพลังงานตามแผนหรือช่วงอายุของการใช้งานที่คาดไว้
เพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรต้องกำหนดข้อกำหนดรายละเอียดในการจัดซื้อพลังงานเป็นเอกสารตามความเหมาะสม
หมายเหตุ รายละเอียดดังภาคผนวก ก
4.6 การตรวจ
4.6.1 การเฝ้าระวัง การวัด และการวิเคราะห์
องค์กรต้องมั่นใจว่าคุณลักษณะสำคัญด้านปฏิบัติการในการพิจารณาสมรรถนะด้านพลังงาน ได้มีการเฝ้าระวัง วัด และวิเคราะห์ ตามระยะเวลาที่วางแผนไว้ คุณลักษณะที่สำคัญอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
ก) ลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญและผลอื่น ๆ ของการทบทวนด้านพลังงาน
ข) ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ
ค) ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงาน (EnPIs)
ง) ประสิทธิผลของแผนปฏิบัติการในการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายพลังงาน
จ) การประเมินปริมาณการใช้พลังงานจริงเปรียบเทียบกับที่คาดการณ์ไว้
ต้องบันทึกผลจากการเฝ้าระวังและการวัดคุณลักษณะที่สำคัญดังกล่าว
องค์กรต้องกำหนดและปฏิบัติตามแผนการวัดพลังงานซึ่งต้องเหมาะสมกับขนาดและความซับซ้อนขององค์กร และอุปกรณ์การเฝ้าระวังและการวัดด้วย
หมายเหตุ อาจจัดลำดับการวัดจากมาตรวัดสาธารณูปโภคสำหรับองค์กรขนาดเล็ก จนถึงระบบการเฝ้าระวัง การวัด เชื่อมโยงกับซอฟแวร์ ซึ่งสามารถรวบรวมข้อมูลและประมวลผลโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับองค์กรในการพิจารณาวิธีการในการวัด
องค์กรต้องกำหนดให้มีการทบทวนความจำเป็นด้านการวัดตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ โดยต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเฝ้าระวังและการวัดคุณลักษณะที่สำคัญสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเที่ยงตรง และต้องเก็บรักษาบันทึกผลการสอบเทียบและวิธีการในการสร้างความถูกต้องและเที่ยงตรงดังกล่าวไว้
องค์กรต้องตรวจสอบและดำเนินการในกรณีที่สมรรถนะด้านพลังงานมีความเบี่ยงเบนอย่างมีนัยสำคัญและเก็บรักษาบันทึกผลการดำเนินการดังกล่าวไว้
4.6.2 การประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ
องค์กรต้องประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎหมาย และข้อกำหนดอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะการใช้พลังงานและปริมาณการใช้พลังงานขององค์กรตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ และเก็บรักษาบันทึกไว้
4.6.3 การตรวจประเมินภายใน
องค์กรต้องดำเนินการตรวจประเมินภายในตามช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการจัดการพลังงาน
- เป็นไปตามการจัดการด้านพลังงานที่กำหนดไว้และข้อกำหนดของมาตรฐานนี้
- เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายพลังงานที่กำหนด
- มีการปฏิบัติ รักษา และปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิผล
การวางแผนและกำหนดการตรวจประเมินต้องพิจารณาถึงสถานะและความสำคัญของกระบวนการและเรื่องที่จะตรวจประเมิน รวมถึงผลการตรวจประเมินที่ผ่านมา
การคัดเลือกผู้ตรวจประเมินและการดำเนินการตรวจประเมิน ต้องมั่นใจว่ามีกระบวนการที่เป็นรูปธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
ต้องเก็บรักษาบันทึกผลการตรวจประเมินไว้และรายงานต่อผู้บริหารสูงสุด
4.6.4 ความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด การแก้ไข การปฏิบัติการแก้ไข และการปฏิบัติการป้องกัน
องค์กรต้องนำสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่เกิดขึ้นและที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นไปดำเนินการแก้ไขและปฏิบัติการแก้ไข รวมทั้งปฏิบัติการป้องกัน โดยดำเนินการดังต่อไปนี้
ก) ทบทวนความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น
ข) พิจารณาสาเหตุของความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว
ค) ประเมินความจำเป็นในการดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดจะไม่เกิดขึ้นหรือไม่เกิดซ้ำ
ง) กำหนดและดำเนินการสิ่งที่จำเป็นตามความเหมาะสม
จ) เก็บรักษาบันทึกผลการปฏิบัติการแก้ไขและผลการปฏิบัติการป้องกัน
ฉ) ทบทวนประสิทธิผลของการปฏิบัติการแก้ไขหรือการปฏิบัติการป้องกัน
การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันต้องเหมาะสมกับขนาดของปัญหาที่เกิดขึ้นหรือแนวโน้มของปัญหาและผลที่มีต่อสมรรถนะด้านพลังงานที่จะเกิดขึ้น
องค์กรต้องมั่นใจว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในระบบการจัดการพลังงาน
4.6.5 การควบคุมบันทึก
องค์กรต้องจัดทำ และเก็บรักษาบันทึกที่จำเป็นต้องมี เพื่อแสดงถึงความเป็นไปตามข้อกำหนดของระบบการจัดการพลังงานและมาตรฐานนี้ และการบรรลุผลสมรรถนะด้านพลังงาน
องค์กรต้องกำหนดและควบคุมการชี้บ่ง การเรียกใช้ และระยะเวลาในการจัดเก็บบันทึกบันทึกต้องอ่านได้ ชี้บ่งได้ และสามารถสอบกลับถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
4.7 การทบทวนการบริหารงาน
4.7.1 ข้อกำหนดทั่วไป
ผู้บริหารสูงสุดต้องทบทวนระบบการจัดการพลังงานขององค์กรตามช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อให้มั่นใจว่ายังคงมีความเหมาะสม เพียงพอ และมีประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง
ต้องเก็บบันทึกผลการทบทวนไว้
4.7.2 ข้อมูลที่ใช้ในการทบทวนการบริหารงาน
ข้อมูลที่ใช้ในการทบทวนการบริหารงานต้องประกอบด้วย
ก) การติดตามผลจากการทบทวนการบริหารงานที่ผ่านมา
ข) การทบทวนนโยบายพลังงาน
ค) การทบทวนสมรรถนะด้านพลังงาน และตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงานที่เกี่ยวข้อง
ง) ผลการประเมินการปฏิบัติตามกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย และข้อกำหนดอื่น ที่องค์กรต้องปฏิบัติ
จ) ระดับการบรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายพลังงาน
ฉ) ผลการตรวจประเมินระบบการจัดการพลังงาน
ช) สถานะของการปฏิบัติการแก้ไขและการปฏิบัติการป้องกัน
ซ) สมรรถนะด้านพลังงานที่คาดการณ์ไว้สำหรับช่วงเวลาต่อไป
ฌ) ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
4.7.3 ผลจากการทบทวนการบริหารงาน
ผลจากการทบทวนการบริหารงานต้องรวมถึงการตัดสินใจ หรือการดำเนินการที่เกี่ยวกับ
ก) การเปลี่ยนแปลงสมรรถนะด้านพลังงานขององค์กร
ข) การเปลี่ยนแปลงนโยบายพลังงาน
ค) การเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงาน
ง) การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย หรือองค์ประกอบของระบบการจัดการพลังงานซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
จ) การเปลี่ยนแปลงการจัดสรรทรัพยากร
ภาคผนวก ก.
ข้อแนะนำในการใช้มาตรฐาน
ก.1 ข้อกำหนดทั่วไป
เนื้อหาเพิ่มเติมในภาคผนวกนี้เป็นการให้ข้อมูลและมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการตีความข้อกำหนดตามข้อ 4 ที่ไม่ถูกต้อง โดยไม่ได้เพิ่มเติม ตัด หรือดัดแปลงข้อกำหนดดังกล่าว
การนำระบบการจัดการพลังงานตามมาตรฐานนี้ไปใช้มีเจตนาเพื่อให้เกิดผลการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน ดังนั้น การใช้มาตรฐานนี้จึงอยู่บนพื้นฐานที่องค์กรจะทบทวนและประเมินระบบเป็นระยะเพื่อชี้บ่งโอกาสในการปรับปรุงและการนำไปปฏิบัติ โดยมีความยืดหยุ่นในการนำไปปฏิบัติ องค์กรสามารถพิจารณากำหนดอัตรา ขอบเขต และระยะเวลาเพื่อให้เกิดการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง
ในการกำหนดอัตรา ขอบเขต และระยะเวลาดังกล่าว องค์กรสามารถนำประเด็นด้านเศรษฐกิจและอื่น ๆ มาใช้ประกอบการพิจารณา
การกำหนดขอบข่ายและขอบเขตช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่นในการกำหนดขอบข่ายของระบบการจัดการพลังงาน
สมรรถนะด้านพลังงานครอบคลุมถึงลักษณะการใช้พลังงาน ประสิทธิภาพพลังงาน และปริมาณการใช้พลังงาน ดังนั้น องค์กรสามารถเลือกกิจกรรมที่เกี่ยวกับสมรรถนะด้านพลังงานได้อย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น องค์กรอาจลดความต้องการพลังงานสูงสุดหรือใช้ประโยชน์จากพลังงานส่วนเกินหรือพลังงานจากของเสียหรือปรับปรุงระบบ กระบวนการ หรืออุปกรณ์
แนวคิดของสมรรถนะด้านพลังงานดังแสดงในรูปที่ ก.1

ก.2 ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร
ก.2.1 ผู้บริหารสูงสุด
ในการสื่อสารกับบุคลากรภายในองค์กร ผู้บริหารสูงสุดหรือผู้แทนสามารถช่วยให้เกิดความสำคัญของการจัดการพลังงานโดยการมีกิจกรรมการมีส่วนร่วมของพนักงาน เช่น การให้อำนาจ การสร้างแรงจูงใจ การให้การยอมรับ การฝึกอบรมและการให้รางวัล และการมีส่วนร่วม
การวางแผนระยะยาวขององค์กรสามารถรวมประเด็นด้านการจัดการพลังงาน เช่น แหล่งพลังงาน สมรรถนะด้านพลังงาน และการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานไว้ในแผนกิจกรรมต่าง ๆ ได้
ก.2.2 ผู้แทนฝ่ายบริหาร
ผู้แทนฝ่ายบริหารอาจเป็นพนักงานปัจจุบัน พนักงานใหม่ หรือพนักงานสัญญาจ้าง ผู้แทนฝ่ายบริหารอาจทำหน้าที่ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ ทักษะและความสามารถของผู้แทนฝ่ายบริหารขึ้นอยู่กับขนาด วัฒนธรรม และความซับซ้อนขององค์กร หรือกฎหมายหรือข้อกำหนดอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทีมจัดการพลังงานมีหน้าที่ในการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน ขนาดของทีมขึ้นอยู่กับความซับซ้อนขององค์กร
- สำหรับองค์กรขนาดเล็ก อาจมีเพียง 1 คน เช่น ผู้แทนฝ่ายบริหาร
- สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ทีมที่มีบุคลากรมาจากสายงานต่าง ๆ ภายในองค์กรเป็นกลไกที่มีประสิทธิผลช่วยให้เกิดการประสานในหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดระบบและการปฏิบัติ
ก.3 นโยบายพลังงาน
นโยบายพลังงานเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อการปฏิบัติและการปรับปรุงระบบการจัดการพลังงานและสมรรถนะด้านพลังงานขององค์กรภายใต้ขอบข่ายและขอบเขตที่กำหนด นโยบายอาจเป็นถ้อยแถลงโดยย่อที่บุคลากรภายในองค์กรสามารถเข้าใจได้ง่ายและนำไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมของตน การเผยแพร่นโยบายพลังงานสามารถใช้ขับเคลื่อนการจัดการพฤติกรรมเชิงองค์กร
กรณีที่องค์กรมีการขนส่งหรือจ้างขนส่ง ลักษณะการใช้พลังงานและปริมาณการใช้พลังงานที่ใช้ในการขนส่งสามารถรวมอยู่ในขอบข่ายและขอบเขตของระบบการจัดการพลังงานได้
ก.4 การวางแผนด้านพลังงาน
ก.4.1 ข้อกำหนดทั่วไป
รูปที่ ก.2 แสดงแผนภูมิเพื่อความเข้าใจกระบวนการวางแผนด้านพลังงาน โดยไม่มีเจตนาใช้แทนรายละเอียดจำเพาะขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ข้อมูลในแผนภูมิการวางแผนด้านพลังงานไม่ได้ให้รายละเอียดทั้งหมด และอาจมีรายละเอียดอื่นซึ่งใช้เฉพาะองค์กรหรือสถานการณ์

ข้อกำหนดนี้เน้นที่สมรรถนะด้านพลังงานขององค์กรและเครื่องมือในการรักษาและการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง
การวัดเปรียบเทียบสมรรถนะเป็นกระบวนการรวบรวม วิเคราะห์ และเปรียบเทียบข้อมูลสมรรถนะด้านพลังงานโดยเปรียบเทียบภายในองค์กรหรือระหว่างองค์กร การวัดเปรียบเทียบสมรรถนะมีหลายแบบ ตั้งแต่การเปรียบเทียบภายในเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีภายในองค์กร การวัดเปรียบเทียบสมรรถนะกับภายนอกเพื่อหาสมรรถนะในการติดตั้ง/เครื่องมือ หรือ ผลิตภัณฑ์/บริการเฉพาะที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมหรือสาขาอุตสาหกรรมเดียวกัน กระบวนการดังกล่าวสามารถใช้กับส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด ในกรณีที่มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องและถูกต้อง การวัดเปรียบเทียบสมรรถนะจะเป็นข้อมูลที่มีค่าในการทบทวนด้านพลังงาน (ดูข้อ 4.4.3) และการกำหนดวัตถุประสงค์ด้านพลังงานและเป้าหมายพลังงาน (ดูข้อ 4.4.6)
ก.4.2 ข้อกำหนดด้านกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ
ตัวอย่างข้อกำหนดด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อกำหนดระหว่างประเทศ ข้อกำหนดระดับชาติ ระดับภูมิภาค และท้องถิ่นซึ่งนำไปใช้ในขอบข่ายของระบบการจัดการพลังงาน ตัวอย่างของข้อกำหนดด้านกฎหมายอาจรวมถึงกฎระเบียบและกฎหมายการอนุรักษ์พลังงานแห่งชาติ ตัวอย่างของข้อกำหนดอื่นอาจรวมถึงข้อตกลงกับลูกค้า หลักการหรือหลักปฏิบัติ โครงการและอื่น ๆ ภาคสมัครใจ
ก.4.3 การทบทวนด้านพลังงาน
กระบวนการในการชี้บ่งและประเมินลักษณะการใช้พลังงานควรทำให้องค์กรสามารถกำหนดประเด็นลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญและชี้บ่งโอกาสในการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน
ตัวอย่างของบุคลากรที่ปฏิบัติงานให้องค์กรหรือในนามขององค์กร ผู้รับเหมาด้านบริการ พนักงานที่ทำงานไม่เต็มเวลา และพนักงานชั่วคราว
แหล่งพลังงานที่เป็นไปได้รวมถึงแหล่งพลังงานทั่วไปที่ไม่เคยใช้มาก่อน แหล่งพลังงานทางเลือกรวมถึงเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือเชื้อเพลิงที่ไม่ได้มาจากฟอสซิล
การปรับปรุงข้อมูลการทบทวนด้านพลังงานหมายถึงการปรับปรุงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ การพิจารณาความสำคัญ และการพิจารณาโอกาสในการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน
การตรวจประเมินพลังงาน ประกอบด้วยรายละเอียดการทบทวนสมรรถนะด้านพลังงานขององค์กรกระบวนการ หรือทั้งคู่ ซึ่งขึ้นอยู่กับการวัดที่เหมาะสมและการสังเกตการณ์สมรรถนะด้านพลังงานที่แท้จริง ผลการตรวจประเมินรวมถึงข้อมูลปริมาณการใช้พลังงานและสมรรถนะที่เป็นปัจจุบัน ควบคู่กับการจัดลำดับข้อเสนอแนะในการปรับปรุงในรูปของสมรรถนะด้านพลังงาน ต้องมีการวางแผนและดำเนินการตรวจประเมินพลังงาน โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของการชี้บ่งและจัดลำดับความสำคัญของโอกาสในการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน
ก.4.4 ข้อมูลฐานด้านพลังงาน
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรวบรวมข้อมูลเป็นความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อข้อกำหนดด้านกฎหมายหรือตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อลักษณะการใช้พลังงานและปริมาณการใช้พลังงาน ตัวแปรเหล่านี้ ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ ฤดูกาล วงจรกิจกรรมทางธุรกิจ และเงื่อนไขอื่น ๆ
การทำและบันทึกข้อมูลฐานด้านพลังงานสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดระยะเวลาในการเก็บรักษาบันทึกข้อมูลฐานด้านพลังงาน การปรับข้อมูลฐานด้านพลังงานต้องพิจารณาถึงเรื่องการบำรุงรักษาและข้อกำหนดตามมาตรฐานนี้
ก.4.5 ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงาน
ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงานอาจใช้ตัวแปรอย่างง่าย อัตราส่วนอย่างง่าย หรือแบบจำลองที่ซับซ้อนตัวอย่างเช่น ปริมาณการใช้พลังงานต่อเวลา ปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิต และแบบจำลองหลายตัวแปร องค์กรสามารถเลือกตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงานซึ่งแสดงสมรรถนะด้านพลังงานของการปฏิบัติการและสามารถปรับปรุงตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงานเมื่อกิจกรรมทางธุรกิจหรือข้อมูลฐานด้านพลังงานเปลี่ยนแปลงไปซึ่งส่งผลต่อตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงานที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
ก.4.6 วัตถุประสงค์ด้านพลังงาน เป้าหมายพลังงาน และแผนปฏิบัติการด้านการจัดการพลังงาน
นอกเหนือจากแผนปฏิบัติการด้านการจัดการพลังงานซึ่งเน้นความสำเร็จในการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานเฉพาะเรื่อง องค์กรอาจมีแผนปฏิบัติการซึ่งเน้นความสำเร็จในการปรับปรุงการจัดการพลังงานหรือการปรับปรุงกระบวนการของระบบการจัดการพลังงานโดยรวม แผนปฏิบัติการด้านการจัดการพลังงานในการปรับปรุงดังกล่าวอาจระบุวิธีการที่องค์กรใช้ในการทวนสอบผลสำเร็จของแผนปฏิบัติการ เช่น องค์กรอาจมีแผนปฏิบัติการที่ออกแบบเพื่อให้สามารถเพิ่มความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านการจัดการพลังงานของพนักงานและผู้รับเหมา ซึ่งควรทำการทวนสอบโดยวิธีที่องค์กรได้พิจารณาและจัดทำเป็นเอกสารในแผนปฏิบัติการแล้ว
ก.5 การนำไปปฏิบัติและการดำเนินการ
ก.5.1 ข้อกำหนดทั่วไป
ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติม
ก.5.2 ความสามารถ การฝึกอบรม และความตระหนัก
องค์กรกำหนดความสามารถ การฝึกอบรม และความตระหนักที่จำเป็นซึ่งขึ้นอยู่กับการศึกษา การฝึกอบรม ทักษะ และประสบการณ์
ก.5.3 การสื่อสาร
ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติม
ก.5.4 เอกสาร
ขั้นตอนการดำเนินงานมีเฉพาะเรื่องที่ระบุให้เป็นขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น
องค์กรสามารถจัดทำเอกสารใด ๆ ที่เห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อแสดงถึงสมรรถนะด้านพลังงานที่มีประสิทธิผลและช่วยสนับสนุนระบบการจัดการพลังงาน
ก.5.5 การควบคุมด้านปฏิบัติการ
องค์กรควรประเมินการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญและทำให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการในลักษณะที่จะควบคุมหรือลดผลกระทบด้านลบ เพื่อให้บรรลุข้อกำหนดตามนโยบายพลังงานและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ซึ่งควรครอบคลุมการดำเนินการทุกด้าน รวมถึงกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วย
ก.5.6 การออกแบบ
ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติม
ก.5.7 การจัดหาบริการด้านพลังงาน ผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ และพลังงาน
การจัดหาเป็นโอกาสในการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานผ่านทางการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีประสิทธิภาพ และยังเป็นโอกาสในการทำงานร่วมกับห่วงโซ่อุปทานและส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้พลังงาน
ข้อกำหนดรายละเอียดการจัดซื้อพลังงานอาจผันแปรตามสภาพของตลาด ข้อกำหนดรายละเอียดในการจัดซื้อพลังงาน เช่น คุณภาพพลังงาน การหาได้ง่าย โครงสร้างราคา ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และแหล่งพลังงานทดแทน
องค์กรอาจใช้ข้อกำหนดรายละเอียดที่ผู้ส่งมอบเสนอ ตามความเหมาะสม
ก.6 การตรวจ
ก.6.1 การเฝ้าระวัง การวัด และการวิเคราะห์
ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติม
ก.6.2 การประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎหมายและข้อกำหนดอื่น
ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติม
ก.6.3 การตรวจประเมินภายในของระบบการจัดการพลังงาน
การตรวจประเมินระบบการจัดการพลังงานภายในสามารถดำเนินการโดยบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่ได้รับการคัดเลือก ซึ่งควรเป็นผู้มีความสามารถ ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม และไม่เลือกปฏิบัติในองค์กรขนาดเล็กสามารถแสดงความเป็นอิสระของผู้ตรวจประเมินโดยต้องเป็นผู้ที่ไม่ได้รับผิดชอบกิจกรรมที่ดำเนินการตรวจประเมิน
กรณีที่องค์กรมีการตรวจประเมินภายในระบบการจัดการพลังงานร่วมกับระบบอื่น ต้องกำหนดจุดประสงค์และขอบข่ายการตรวจแต่ละระบบไว้อย่างชัดเจน
การตรวจประเมินพลังงานมีแนวคิดไม่เหมือนกับการตรวจประเมินภายในของระบบการจัดการพลังงานหรือการตรวจประเมินภายในของสมรรถนะด้านพลังงานของระบบการจัดการพลังงาน (ดู ก.4.3)
ก.6.4 ความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด การแก้ไข การปฏิบัติการแก้ไข และการปฏิบัติการป้องกัน
ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติม
ก.6.5 การควบคุมบันทึก
ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติม
ก.7 การทบทวนการบริหารงาน
ก.7.1 ข้อกำหนดทั่วไป
การทบทวนการบริหารงานควรครอบคลุมขอบข่ายระบบการจัดการพลังงานทั้งระบบ โดยไม่จำเป็นต้องทบทวนในครั้งเดียวกันทั้งหมดและอาจดำเนินการในช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด
ก.7.2 ข้อมูลที่ใช้ในการทบทวนการบริหารงาน
ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติม
ก.7.3 ผลจากการทบทวนการบริหารงาน
ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติม
ภาคผนวก ข.
(เพื่อเป็นข้อมูล)
ความสัมพันธ์ระหว่าง ISO 50001:2011 ISO 9001:2008 ISO 14001:2004 และ ISO 22000:2005
ISO 50001:2011
|
ISO 9001:2008
|
ISO 14001:2004
|
ISO 22000:2005
|
ข้อ
|
เกณฑ์
|
ข้อ
|
เกณฑ์
|
ข้อ
|
เกณฑ์
|
ข้อ
|
เกณฑ์
|
-
|
คำนำ
|
-
|
คำนำ
|
-
|
คำนำ
|
-
|
คำนำ
|
-
|
บทนำ
|
-
|
บทนำ
|
-
|
บทนำ
|
-
|
บทนำ
|
1
|
ขอบข่าย
|
1
|
ขอบข่าย
|
1
|
ขอบข่าย
|
1
|
ขอบข่าย
|
2
|
เอกสารอ้างอิง
|
2
|
เอกสารอ้างอิง
|
2
|
เอกสารอ้างอิง
|
2
|
เอกสารอ้างอิง
|
3
|
คำศัพท์และคำนิยาม
|
3
|
คำศัพท์และคำนิยาม
|
3
|
คำศัพท์และคำนิยาม
|
3
|
คำศัพท์และคำนิยาม
|
4
|
ข้อกำหนดระบบการจัดการพลังงาน
|
4
|
ระบบบริหารงานคุณภาพ
|
4
|
ข้อกำหนดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
|
4
|
ระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร
|
4.1
|
ข้อกำหนดทั่วไป
|
4.1
|
ข้อกำหนดทั่วไป
|
4.1
|
ข้อกำหนดทั่วไป
|
4.1
|
ข้อกำหนดทั่วไป
|
4.2
|
ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร
|
5
|
ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร
|
-
|
|
5
|
ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร
|
4.2.1
|
ผู้บริหารสูงสุด
|
5.1
|
ความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหาร
|
4.4.1
|
ทรัพยากร บทบาทความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่
|
5
|
ความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหาร
|
4.2.2
|
ผู้แทนฝ่ายบริหาร
|
5.5.1
5.5.2
|
ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่
ผู้แทนฝ่ายบริหาร
|
4.4.1
|
ทรัพยากร บทบาทความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่
|
5.4
5.5
|
ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่
ผู้นำทีมความปลอดภัยด้านอาหาร
|
4.3
|
นโยบายพลังงาน
|
5.3
|
นโยบายคุณภาพ
|
4.2
|
นโยบายสิ่งแวดล้อม
|
5.2
|
นโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร
|
4.4
|
การวางแผนด้านพลังงาน
|
4.3
|
การวางแผน
|
4.3
|
การวางแผน
|
5.3
7
|
การวางแผนระบบความปลอดภัยด้านอาหาร
การวางแผนสำหรับการยอมรับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย
|
4.4.1
|
ข้อกำหนดทั่วไป
|
5.4.1
7.2.1
|
วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ
การกำหนดข้อกำหนดที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
|
4.3
|
การวางแผน
|
5.3
7.1
|
การวางแผนระบบความปลอดภัยด้านอาหาร
ข้อกำหนดทั่วไป
|
4.4.2
|
ข้อกำหนดด้านกฎหมายและข้อกำหนดอื่น
|
7.2.1
7.3.2
|
การกำหนดข้อกำหนดที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
การออกแบบและการปรับปรุง
|
4.3.1
|
ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม
|
7
|
การวางแผนสำหรับการยอมรับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย
|
4.4.4
|
ข้อมูลฐานด้านพลังงาน
|
-
|
-
|
-
|
-
|
7.4
|
การวิเคราะห์อันตราย
|
4.4.5
|
ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงาน
|
-
|
-
|
-
|
-
|
7.4.2
|
การชี้บ่งอันตรายและการกำหนดระดับที่ยอมรับได้
|
4.4.6
|
วัตถุประสงค์ด้านพลังงาน เป้าหมายพลังงาน และแผนปฏิบัติการด้านการจัดการพลังงาน
|
5.4.1
7.1
|
วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ
การวางแผนการยอมรับผลิตภัณฑ์
|
4.3.3
|
วัตถุประสงค์เป้าหมาย และโปรแกรม
|
7.2
|
โปรแกรม
|
4.5
|
การนำไปปฏิบัติและการดำเนินการ
|
7
|
การยอมรับผลิตภัณฑ์
|
4.4
|
การนำไปปฏิบัติและการดำเนินการ
|
7
|
การวางแผนสำหรับการยอมรับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย
|
4.5.1
|
ข้อกำหนดทั่วไป
|
7.5.1
|
การควบคุมผลิตภัณฑ์และบริการ
|
4.4.6
|
การควบคุมด้านปฏิบัติการ
|
7.2.2
|
ไม่มีชื่อเรื่อง
|
4.5.2
|
ความสามารถ การฝึกอบรม และความตระหนัก
|
6.2.2
|
ความสามารถ การฝึกอบรม และความตระหนัก
|
4.4.2
|
ความสามารถ การฝึกอบรม และความตระหนัก
|
6.2.2
|
ความสามารถ การฝึกอบรม และความตระหนัก
|
4.5.3
|
การสื่อสาร
|
5.5.3
|
การสื่อสารภายใน
|
4.4.3
|
การสื่อสาร
|
5.6.2
|
การสื่อสารภายใน
|
4.5.4
|
เอกสาร
|
4.2
|
ข้อกำหนดเอกสาร
|
-
|
-
|
4.2
|
ข้อกำหนดเอกสาร
|
4.5.4.1
|
ข้อกำหนดเอกสาร
|
4.2.1
|
ข้อกำหนดทั่วไป
|
4.4.4
|
เอกสาร
|
4.2.1
|
ข้อกำหนดทั่วไป
|
4.5.4.2
|
การควบคุมบันทึก
|
4.2.3
|
การควบคุมบันทึก
|
4.4.5
|
การควบคุมบันทึก
|
4.2.2
|
การควบคุมบันทึก
|
4.5.5
|
การควบคุมด้านปฏิบัติการ
|
7.5.1
|
การควบคุมผลิตภัณฑ์และบริการ
|
4.4.6
|
การควบคุมด้านปฏิบัติการ
|
7.6.1
|
การควบคุมด้านปฏิบัติการ
|
4.5.6
|
การออกแบบ
|
7.3
|
การออกแบบและการปรับปรุง
|
-
|
-
|
7.3
|
ขั้นตอนการวิเคราะห์อันตราย
|
4.5.7
|
การจัดหาบริการด้านพลังงาน ผลิตภัณฑ์
อุปกรณ์ และพลังงาน
|
7.4
|
การจัดซื้อ
|
-
|
-
|
-
|
-
|
4.6
|
การตรวจ
|
8
|
การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุง
|
4.5
|
การตรวจสอบ
|
8
|
การตรวจสอบความใช้ได้ การทวนสอบและการปรับปรุงระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร
|
4.6.1
|
การเฝ้าระวัง การวัด และการวิเคราะห์
|
8.2.3
8.2.4
8.4
|
การเฝ้าระวังและการ
วัด
กระบวนการการเฝ้าระวังและการวัดผลิตภัณฑ์
การวิเคราะห์ข้อมูล
|
4.5.1
|
การเฝ้าระวังและการวัด
|
7.6.4
|
ระบบสำหรับการเฝ้าระวังของจุดควบคุมวิกฤต
|
4.6.2
|
การประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎหมายและข้อกำหนดอื่น
|
7.3.4
|
การทบทวนการออกแบบและการปรับปรุง
|
4.5.2
|
การประเมินความสอดคล้อง
|
-
|
-
|
4.6.3
|
การตรวจประเมินภายในของระบบการจัดการพลังงาน
|
8.2.2
|
การตรวจประเมินภายใน
|
4.5.5
|
การตรวจประเมินภายใน
|
8.4.1
|
การตรวจประเมินภายใน
|
4.6.4
|
ความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด การแก้ไข การปฏิบัติการแก้ไข และการปฏิบัติการป้องกัน
|
8.2
8.5.2
8.5.3
|
การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
การปฏิบัติการแก้ไข
การปฏิบัติการป้องกัน
|
4.5.3
|
ความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด การปฏิบัติการแก้ไขและการปฏิบัติการป้องกัน
|
7.10
|
การควบคุมความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
|
4.6.5
|
การควบคุมบันทึก
|
4.2.4
|
การควบคุมบันทึก
|
4.5.4
|
การควบคุมบันทึก
|
4.2.3
|
การควบคุมบันทึก
|
4.7
|
การทบทวนการบริหารงาน
|
5.6
|
การทบทวนการบริหารงาน
|
4.6
|
การทบทวนการบริหารงาน
|
5.8
|
การทบทวนการบริหารงาน
|
4.7.1
|
ข้อกำหนดทั่วไป
|
5.6.1
|
ข้อกำหนดทั่วไป
|
4.6
|
การทบทวนการบริหารงาน
|
5.8.1
|
ข้อกำหนดทั่วไป
|
4.7.2
|
ข้อมูลที่ใช้ในการทบทวนการบริหารงาน
|
5.6.2
|
ข้อมูลที่ใช้
|
4.6
|
การทบทวนการบริหารงาน
|
5.8.2
|
ข้อมูลที่ใช้
|
4.7.3
|
ผลจากการทบทวนการบริหารงาน
|
5.6.3
|
ผลจากการทบทวนการบริหารงาน
|
4.6
|
การทบทวนการบริหารงาน
|
5.8.3
|
ผลจากการทบทวนการบริหารงาน
|