ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูลกรมโยธาธิการและผังเมือง
กฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบอาคาร
ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรา ๒๖/๔ (๒) สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร




ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ พ.ศ. 2566

ข้อบังคับสภาวิศวกร
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ
สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่
พ.ศ. 2566

-----------------------

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (6) (ฉ) มาตรา 46 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 และกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2565 สภาวิศวกรโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่1/2565 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 และโดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งสภาวิศวกร ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ พ.ศ. 2566

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ 22 มิถุนายน 2566)

ข้อ 3 ให้ยกเลิก

(1) ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ พ.ศ. 2551

(2) ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558

ข้อ 4 ให้งาน ประเภทและขนาดของงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2565

ข้อ 5 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานเหมืองแร่ ระดับวุฒิวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานเหมืองแร่ ได้ทุกงาน ทุกประเภท และทุกขนาด

ข้อ 6 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานเหมืองแร่ ระดับสามัญวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานเหมืองแร่ ตามประเภทและขนาด ดังนี้

(1) งานให้คำปรึกษา

(ก) การทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ประเภทที่1 หรือประเภทที่ 2 ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 15,000 กิโลวัตต์

(ข) การเจาะอุโมงค์หรือช่องเปิดในหินหรือแร่หรือการสร้างโพรงโดยการชะละลายแร่ในการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ประเภทที่1 หรือประเภทที่ 2 หรือการเจาะอุโมงค์หรือช่องเปิดในหินที่มีพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน 40 ตารางเมตร หรือมีกำลังผลิตไม่เกิน 150,000 เมตริกตันต่อปี

(ค) งานวิศวกรรมที่มีการใช้วัตถุระเบิดที่มีปริมาณวัสดุจากการระเบิดไม่เกิน 10,000 เมตริกตันต่อวัน หรือไม่เกิน 3.5 ล้านเมตริกตันต่อปี หรือการใช้วัตถุระเบิดในการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่

(ง) การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้ว ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ที่ใช้กำลังเครื่องจักร ทุกขนาด

(จ) การตรวจสอบและประเมินปริมาณแร่ที่ทำเหมืองได้ทุกขนาด

(ฉ) การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนทำเหมือง การปรับคุณภาพแร่หรือวัสดุด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ ทุกประเภทและทุกขนาด

(ช) การฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองหรือการปิดเหมืองในเขตเหมืองแร่ ทุกประเภทและทุกขนาด

(ซ) การควบคุมการพังทลายของดินหรือหินในเขตเหมืองแร่ ทุกประเภทและทุกขนาด

(2) งานวางโครงการ งานออกแบบและคำนวณ งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต งานพิจารณาตรวจสอบ และงานอำนวยการใช้ ตามประเภทและขนาด ดังนี้

(ก) การทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ประเภทที่1 หรือประเภทที่ 2 ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 15,000 กิโลวัตต์

(ข) การเจาะอุโมงค์หรือช่องเปิดในหินหรือแร่หรือการสร้างโพรงโดยการชะละลายแร่ในการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่หรือการเจาะอุโมงค์หรือช่องเปิดในหินที่มีพื้นที่หน้าตัด ไม่เกิน 40 ตารางเมตร หรือกำลังผลิตไม่เกิน 150,000 เมตริกตันต่อปี

(ค) งานวิศวกรรมที่มีการใช้วัตถุระเบิดที่มีปริมาณวัสดุจากการระเบิดไม่เกิน 10,000 เมตริกตันต่อวัน หรือไม่เกิน 3.5 ล้านเมตริกตันต่อปี หรือการใช้วัตถุระเบิดในการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่

(ง) การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้ว ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ที่ใช้กำลังเครื่องจักร ทุกขนาด

(จ) การตรวจสอบและประเมินปริมาณแร่ที่ทำเหมืองได้ทุกขนาด

(ฉ) การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนทำเหมือง การปรับคุณภาพแร่หรือวัสดุด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ ทุกประเภทและทุกขนาด

(ช) การฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองหรือการปิดเหมืองในเขตเหมืองแร่ ทุกประเภทและทุกขนาด

(ซ) การควบคุมการพังทลายของดินหรือหินในเขตเหมืองแร่ ทุกประเภทและทุกขนาด

ข้อ 7 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานเหมืองแร่ ระดับภาคีวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานเหมืองแร่ได้เฉพาะงาน งานควบคุมการสร้างและการผลิต งานพิจารณาตรวจสอบ และงานอำนวยการใช้ ตามประเภทและขนาด ดังนี้

(1) งานควบคุมการสร้างและการผลิต

(ก) การทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ประเภทที่1 ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1,500 กิโลวัตต์

(ข) งานวิศวกรรมที่มีการใช้วัตถุระเบิดที่มีปริมาณวัสดุจากการระเบิดไม่เกิน 800 เมตริกตันต่อวัน หรือไม่เกิน 280,000 เมตริกตันต่อปี ยกเว้นการใช้วัตถุระเบิดในการเจาะอุโมงค์ หรือช่องเปิดในหินทุกขนาด

(ค) การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้ว ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 500 กิโลวัตต์ ยกเว้นการแต่งแร่ หรือแยกวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้แล้วด้วยกรรมวิธีเคมีหรือเคมีไฟฟ้า

(ง) การฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองหรือการปิดเหมืองในเขตเหมืองแร่ ประเภทที่1 ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1,500 กิโลวัตต์

(จ) การควบคุมการพังทลายของดินหรือหินในเขตเหมืองแร่ ในการทำเหมืองประเภทที่ 1 ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1,500 กิโลวัตต์

(2) งานพิจารณาตรวจสอบ

(ก) การทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ประเภทที่1 ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1,500 กิโลวัตต์

(ข) งานวิศวกรรมที่มีการใช้วัตถุระเบิดที่มีปริมาณวัสดุจากการระเบิดไม่เกิน 800 เมตริกตันต่อวัน หรือไม่เกิน 280,000 เมตริกตันต่อปี ยกเว้นการใช้วัตถุระเบิดในการเจาะอุโมงค์ หรือช่องเปิดในหินทุกขนาด

(ค) การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้ว ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 500 กิโลวัตต์ ยกเว้นการแต่งแร่ หรือแยกวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้แล้วด้วยกรรมวิธีเคมีหรือเคมีไฟฟ้า

(3) งานอำนวยการใช้

(ก) การทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ประเภทที่1 ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1,500 กิโลวัตต์

(ข) งานวิศวกรรมที่มีการใช้วัตถุระเบิดที่มีปริมาณวัสดุจากการระเบิดไม่เกิน 800 เมตริกตันต่อวัน หรือไม่เกิน 280,000 เมตริกตันต่อปี ยกเว้นการใช้วัตถุระเบิดในการเจาะอุโมงค์หรือช่องเปิดในหินทุกขนาด

(ค) การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้ว ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 500 กิโลวัตต์ ยกเว้นการแต่งแร่ หรือแยกวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้แล้วด้วยกรรมวิธีเคมีหรือเคมีไฟฟ้า

(ง) การฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองหรือการปิดเหมืองในเขตเหมืองแร่ ประเภทที่1 ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1,500 กิโลวัตต์

(จ) การควบคุมการพังทลายของดินหรือหินในเขตเหมืองแร่ ในการทำเหมืองประเภทที่1 ที่มีกำลังสูงสุดของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1,500 กิโลวัตต์

ข้อ 8 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานเหมืองแร่ ได้ตามงาน ประเภท และขนาดที่ระบุไว้ในใบอนุญาต

ข้อ 9 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานโลหการ ระดับวุฒิวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานโลหการ ได้ทุกงาน ทุกประเภท และทุกขนาด

ข้อ10 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานโลหการ ระดับสามัญวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานโลหการ ตามประเภทและขนาด ดังนี้

(1) งานให้คำปรึกษา

(ก) การแยกและการเตรียมวัสดุเพื่อการสกัดโลหะออกจากขยะ ของที่ใช้แล้วจากภาคครัวเรือน และกากของเสียอุตสาหกรรม ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่และกรรมวิธีทางโลหกรรม ที่มีการใช้สารเคมีอันตราย ทุกประเภท และทุกขนาด

(ข) การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้ว ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ทุกขนาด

(ค) การถลุงแร่เหล็กหรือการผลิตเหล็กกล้า ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรม ไม่เกิน 300,000 เมตริกตันต่อปี

(ง) การถลุงแร่อื่น ๆ หรือการสกัดโลหะ โลหะเจือ หรือสารประกอบโลหะออกจากแร่ ตะกรัน เศษโลหะ วัสดุ หรือสารอื่นใด รวมทั้งการทำโลหะให้บริสุทธิ์ ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรม ที่มีการใช้สารเคมีอันตราย และมีกำลังผลิตไม่เกิน 40,000 เมตริกตันต่อปี

(จ) การผลิตโลหะสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปด้วยกระบวนการขึ้นรูปต่าง ๆ เช่น การหลอม การหล่อ การแปรรูป การเชื่อม การขึ้นรูปด้วยกระบวนการโลหะผง หรือการขึ้นรูปด้วยการเติมเนื้อวัสดุ ที่ใช้คนงานไม่เกินสามร้อยคน

(ฉ) การปรับปรุงสมบัติโลหะด้วยกรรมวิธีการอบชุบทางความร้อน การตกแต่งผิวหรือการเคลือบผิวโลหะ ที่ใช้คนงานไม่เกินสามร้อยคน

(ช) การวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ เชิงกล เคมี การทดสอบแบบไม่ทำลาย การบ่งลักษณะเฉพาะของวัสดุ หรือการวิเคราะห์การวิบัติการเสื่อมสภาพของโลหะ การกัดกร่อนของโลหะ และการป้องกันความเสียหาย ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรม ทุกประเภทและทุกขนาด

(2) งานวางโครงการ งานออกแบบและคำนวณ งานควบคุมการสร้างและการผลิต งานพิจารณาตรวจสอบ และงานอำนวยการใช้

(ก) การแยกและการเตรียมวัสดุเพื่อการสกัดโลหะออกจากขยะ ของที่ใช้แล้วจากภาคครัวเรือน และกากของเสียอุตสาหกรรม ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่และกรรมวิธีทางโลหกรรม ที่มีการใช้สารเคมีอันตราย ทุกประเภทและทุกขนาด

(ข) การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้ว ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ ทุกประเภทและทุกขนาด

(ค) การถลุงแร่เหล็กหรือการผลิตเหล็กกล้า ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรมไม่เกิน 300,000 เมตริกตันต่อปี

(ง) การถลุงแร่อื่น ๆ หรือการสกัดโลหะ โลหะเจือ หรือสารประกอบโลหะออกจากแร่ ตะกรัน เศษโลหะ วัสดุ หรือสารอื่นใด รวมทั้งการทำโลหะให้บริสุทธิ์ ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรม ที่มีการใช้สารเคมีอันตราย และมีกำลังผลิตไม่เกิน 40,000 เมตริกตันต่อปี

(จ) การผลิตโลหะสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปด้วยกระบวนการขึ้นรูปต่าง ๆ เช่น การหลอม การหล่อ การแปรรูป การเชื่อม การขึ้นรูปด้วยกระบวนการโลหะผง หรือการขึ้นรูป ด้วยการเติมเนื้อวัสดุ ที่ใช้คนงานไม่เกินสามร้อยคน

(ฉ) การปรับปรุงสมบัติโลหะด้วยกรรมวิธีการอบชุบทางความร้อน การตกแต่งผิวหรือการเคลือบผิวโลหะ ที่ใช้คนงานไม่เกินสามร้อยคน

(ช) การวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ เชิงกล เคมี การทดสอบแบบไม่ทำลาย การบ่งลักษณะเฉพาะของวัสดุ หรือการวิเคราะห์การวิบัติการเสื่อมสภาพของโลหะการกัดกร่อนของโลหะและการป้องกันความเสียหาย ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรม ทุกประเภทและทุกขนาด

ข้อ11 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานโลหการ ระดับภาคีวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานโลหการ ตามประเภทและขนาด ดังนี้

(1) งานวางโครงการ งานออกแบบและคำนวณ งานควบคุมการสร้างและการผลิต งานพิจารณาตรวจสอบ และงานอำนวยการใช้

(ก) การแยกและการเตรียมวัสดุเพื่อการสกัดโลหะออกจากขยะ ของที่ใช้แล้วจากภาคครัวเรือน และกากของเสียอุตสาหกรรม ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่และกรรมวิธีทางโลหกรรมที่มีการใช้สารเคมีอันตราย ทุกประเภทและทุกขนาด

(ข) การแต่งแร่หรือการแยกวัสดุต่าง ๆ ออกจากของที่ใช้แล้ว ด้วยกรรมวิธีแต่งแร่ ทุกประเภทและทุกขนาด

(ค) การถลุงแร่เหล็กหรือการผลิตเหล็กกล้า ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรม ไม่เกิน 80 เมตริกตันต่อวัน หรือไม่เกิน 28,000 เมตริกตันต่อปี

(ง) การถลุงแร่อื่น ๆ หรือการสกัดโลหะ โลหะเจือ หรือสารประกอบโลหะออกจากแร่ ตะกรัน เศษโลหะ วัสดุ หรือสารอื่นใด รวมทั้งการทำโลหะให้บริสุทธิ์ ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรม ที่มีการใช้สารเคมีอันตราย และมีกำลังผลิตไม่เกิน 5,000 เมตริกตันต่อปี

(จ) การผลิตโลหะสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปด้วยกระบวนการขึ้นรูปต่า ง ๆ เช่น การหลอม การหล่อ การแปรรูป การเชื่อม การขึ้นรูปด้วยกระบวนการโลหะผง หรือการขึ้นรูป ด้วยการเติมเนื้อวัสดุ ที่ใช้คนงานไม่เกินห้าสิบคน

(ฉ) การปรับปรุงสมบัติโลหะด้วยกรรมวิธีการอบชุบทางความร้อน การตกแต่งผิว หรือการเคลือบผิวโลหะ ที่ใช้คนงานไม่เกินหนึ่งร้อยคน

(ช) การวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ เชิงกล เคมี การทดสอบแบบไม่ทำลาย การบ่งลักษณะเฉพาะของวัสดุ หรือการวิเคราะห์การวิบัติการเสื่อมสภาพของโลหะ การกัดกร่อน ของโลหะ และการป้องกันความเสียหาย ด้วยกรรมวิธีทางโลหกรรมของเหล็กหล่อ เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ ถึงปานกลาง และเหล็กกล้าไร้สนิม ยกเว้นเหล็กกล้าไร้สนิมชนิด Super-Austenitic กับ Duplex

ข้อ12 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ งานโลหการ ได้ตามงาน ประเภทและขนาดที่ระบุไว้ในใบอนุญาต

ข้อ13 ในกรณีที่ต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ ตามข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการสภาวิศวกร เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการสภาวิศวกรให้เป็นที่สุด

ข้อ14 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามระดับ และสาขาที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ภายในข้อกำหนดและเงื่อนไขตามกฎกระทรวงกำหนด สาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550 อยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ มีผลใช้บังคับ ให้ผู้นั้นประกอบการงานนั้นต่อไปได้จนกว่างานจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ไม่เกินสามปีนับแต่วันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ

 

ประกาศ ณ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2566
รองศาสตราจารย์ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์
นายกสภาวิศวกร

 

 

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

 




กฎหมาย




Copyright © 2012 All Rights Reserved.

   

                                  ศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1                                      



  

 

สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร | THE BUILDING INSPECTORS ASSOCIATION
เลขที่ 487 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) ถ.รามคำแหง
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 0-2184-4612   โทรสาร: 0-2184-4613
http://www.bsa.or.th