ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูลกรมโยธาธิการและผังเมือง
กฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบอาคาร
ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรา ๒๖/๔ (๒) สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร




ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. 2566

ข้อบังคับสภาวิศวกร
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ
สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
พ.ศ. 2566

-----------------------

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (6) (ฉ) มาตรา 46 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 และกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2565 สภาวิศวกรโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่1/2565 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 และโดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งสภาวิศวกร ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. 2566

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ 22 มิถุนายน 2566)

ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. 2551

ข้อ 4 ให้งาน ประเภทและขนาดของงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2565

ข้อ 5 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง ระดับวุฒิวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง ได้ทุกงาน ทุกประเภท และทุกขนาด

ข้อ 6 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง ระดับสามัญวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง ได้เฉพาะงาน ประเภท และขนาด ดังนี้

(1) งานวางโครงการ

(ก) ระบบการผลิตไฟฟ้าที่มีขนาดรวมกันไม่เกิน 50,000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันสูงสุดระหว่างสายในระบบไม่เกิน 36 กิโลโวลต์

(ข) ระบบส่ง ระบบจำหน่าย และระบบการใช้ไฟฟ้า ที่มีขนาดรวมกันไม่เกิน 50,000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันสูงสุดระหว่างสายในระบบไม่เกิน 36 กิโลโวลต์

(ค) ระบบและเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีขนาดรวมกันไม่เกิน 50 เมกะวัตต์

(ง) การจัดการพลังงานที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานความร้อน ทุกประเภททุกขนาด

(2) งานออกแบบและคำนวณ

(ก) ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน 50,000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบไม่เกิน 36 กิโลโวลต์

(ข) ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่มีขนาด การใช้กำลังไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 10,000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบ ไม่เกิน 36 กิโลโวลต์

(ค) ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยและระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรืออาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ทุกประเภทและทุกขนาด

(ง) ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารประเภทควบคุมการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่มีขนาดการใช้ไฟฟ้ากำลังรวมกันไม่เกิน 10,000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดัน ระหว่างสายในระบบไม่เกิน 36 กิโลโวลต์

(จ) ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารประเภทควบคุมการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารสำหรับใช้เก็บวัตถุอันตรายเฉพาะวัตถุระเบิดได้และวัตถุ ไวไฟ ที่มีขนาดไม่เกิน 10,000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบไม่เกิน 36 กิโลโวลต์

(ฉ) ระบบและเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีขนาดกำลังไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 10 เมกะวัตต์

(ช) การจัดการพลังงานที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานความร้อน ทุกประเภทและทุกขนาด

(3) งานควบคุมการสร้างการผลิต

(ก) ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน 100,000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบไม่เกิน 115 กิโลโวลต์

(ข) ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่มีขนาดการใช้ไฟฟ้ากำลังรวมกันไม่เกิน 20,000 กิโลโวลต์แอมแปร์

(ค) ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยและระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรืออาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ทุกประเภททุกขนาด

(ง) ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารประเภทควบคุมการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่มีขนาดการใช้ไฟฟ้ากำลังรวมกันไม่เกิน 20,000 กิโลโวลต์แอมแปร์

(จ) ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารประเภทควบคุมการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารสำหรับใช้เก็บวัตถุอันตรายเฉพาะวัตถุระเบิดได้และวัตถุไวไฟ ไม่เกิน 20,000 กิโลโวลต์แอมแปร์

(ฉ) ระบบและเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีขนาดรวมกันไม่เกิน 20 เมกะวัตต์

(4) งานพิจารณาตรวจสอบ ทุกประเภทและทุกขนาด

(5) งานอำนวยการใช้

(ก) ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดสูงสุดระหว่างสายในระบบไม่เกิน 115 กิโลโวลต์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน 100,000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสาย ในระบบไม่เกิน 115 กิโลโวลต์

(ข) ระบบและเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีขนาดรวมกันไม่เกิน 100 เมกะวัตต์ หรือที่มีขนาดกำลังไม่เกิน 40 เมกะวัตต์ต่อเครื่อง

(ค) ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย และระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรืออาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ทุกประเภททุกขนาด

ข้อ 7 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง ระดับภาคีวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง ได้เฉพาะงาน ประเภท และขนาด ดังนี้

(1) งานวางโครงการ การจัดการพลังงานที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 2 เมกะวัตต์ต่อโครงการ หรือใช้พลังงานความร้อนไม่เกิน 40 ล้านเมกะจูลต่อปีต่อโครงการ

(2) งานออกแบบและคำนวณ

(ก) ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน 1,000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบไม่เกิน 24 กิโลโวลต์

(ข) ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่มีขนาดการใช้กำลังไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1,000 กิโลโวลต์แอมแปร์หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบ ไม่เกิน 24 กิโลโวลต์

(ค) ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยและระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรืออาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ทุกประเภทและทุกขนาด

(ง) ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารประเภทควบคุมการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่มีขนาดการใช้ไฟฟ้ากำลังรวมกันไม่เกิน 1,000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดัน ระหว่างสายในระบบไม่เกิน 24 กิโลโวลต์

(ฉ) ระบบและเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีขนาดกำลังไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 1 เมกะวัตต์

(ช) การจัดการพลังงานที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 2 เมกะวัตต์หรือใช้พลังงานความร้อนรวมไม่เกิน 40 ล้านเมกะจูลต่อปี

(3) งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต

(ก) ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน 10,000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันระหว่างสายในระบบไม่เกิน 36 กิโลโวลต์

(ข) ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ที่มีขนาดการใช้ไฟฟ้ากำลังรวมกันไม่เกิน 10,000 กิโลโวลต์แอมแปร์

(ค) ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยและระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรืออาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ทุกประเภทและทุกขนาด

(ง) ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารประเภทควบคุมการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่มีขนาดการใช้ไฟฟ้ากำลังรวมกันไม่เกิน 10,000 กิโลโวลต์แอมแปร์

(ฉ) ระบบและเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีขนาดกำลังไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 2 เมกะวัตต์

(4) งานพิจารณาตรวจสอบยกเว้นการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า ทุกประเภทและทุกขนาด

(5) งานอำนวยการใช้

(ก) ระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน 10,000 กิโลโวลต์แอมแปร์ หรือที่มีขนาดแรงดันสูงสุดระหว่างสายภายในระบบไม่เกิน 36 กิโลโวลต์

(ข) ระบบและเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีขนาดรวมกันไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ หรือที่มีขนาดกำลังไม่เกิน 4 เมกะวัตต์ต่อเครื่อง

(ค) ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย และระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรืออาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ทุกประเภทและทุกขนาด

ข้อ 8 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้ากำลัง ได้ตามงาน ประเภท และขนาดที่ระบุไว้ในใบอนุญาต

ข้อ 9 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร ระดับวุฒิวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร ได้ทุกงาน ทุกประเภทและทุกขนาด

ข้อ10 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร ระดับสามัญวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร ได้เฉพาะงาน ประเภทและขนาด ดังนี้

(1) งานวางโครงการ

(ก) ระบบที่มีสถานีวิทยุคมนาคมที่ใช้คลื่นความถี่ตามตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ โดยใช้กำลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก (Equivalent Isotropically Radiated Power- E.I.R.P.) ทุกประเภทที่มีขนาดไม่เกิน 90 กิโลวัตต์ (E.I.R.P.) ต่อคลื่นพาห์ต่อสถานี

(ข) ระบบสายสัญญาณที่รองรับระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ ทุกขนาด

(ค) ระบบสั่งการระยะไกล ระบบโทรมาตร หรือระบบควบคุมระยะไกลของระบบ คมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ ทุกประเภทและทุกขนาด เว้นแต่ระบบรางรถไฟความเร็วสูง (Hi-speed) รถไฟความเร็วสูงมาก (Very Hi-speed) หรือรถไฟ ความเร็วสูงพิเศษ (Ultra Hi-Speed) ที่มีความเร็วตั้งแต่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป

(2) งานออกแบบและคำนวณ

(ก) ระบบที่มีสถานีวิทยุคมนาคมที่ใช้คลื่นความถี่ตามตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ โดยใช้กำลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก (Equivalent Isotropically Radiated Power E.I.R.P.) ทุกประเภทที่มีขนาดไม่เกิน 90 กิโลวัตต์ (E.I.R.P.) ต่อคลื่นพาห์ต่อสถานี

(ข) ระบบสายสัญญาณที่รองรับระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ ทุกขนาด

(ค) ระบบสั่งการระยะไกล ระบบโทรมาตร หรือระบบควบคุมระยะไกลของระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ ทุกประเภทและทุกขนาด เว้นแต่ระบบรางรถไฟความเร็วสูง (Hi-speed) รถไฟความเร็วสูงมาก (Very Hi-speed) หรือรถไฟ ความเร็วสูงพิเศษ (Ultra Hi-Speed) ที่มีความเร็วตั้งแต่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป

(3) งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต

(ก) ระบบที่มีสถานีวิทยุคมนาคมที่ใช้คลื่นความถี่ตามตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ โดยใช้กำลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก (Equivalent Isotropically Radiated Powe rE.I.R.P.) ทุกประเภทที่มีขนาดไม่เกิน 90 กิโลวัตต์ (E.I.R.P.) ต่อคลื่นพาห์ต่อสถานี

(ข) ระบบสายสัญญาณที่รองรับระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ ทุกขนาด (ค) ระบบสั่งการระยะไกล ระบบโทรมาตร หรือระบบควบคุมระยะไกลของระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ ทุกประเภทและทุกขนาด

(4) งานพิจารณาตรวจสอบ ทุกประเภทและทุกขนาด

(5) งานอำนวยการใช้

(ก) ระบบที่มีสถานีวิทยุคมนาคมที่ใช้คลื่นความถี่ตามตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ โดยใช้กำลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก (Equivalent Isotropically Radiated Power E.I.R.P.) ทุกประเภทที่มีขนาดไม่เกิน 90 กิโลวัตต์ (E.I.R.P.) ต่อคลื่นพาห์ต่อสถานี

(ข) ระบบสายสัญญาณที่รองรับระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ ทุกขนาด

(ค) ระบบสั่งการระยะไกล ระบบโทรมาตร หรือระบบควบคุมระยะไกลของระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ ทุกประเภทและทุกขนาด

ข้อ11 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร ระดับภาคีวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร ได้เฉพาะงาน ประเภทและขนาด ดังนี้

(1) งานพิจารณาตรวจสอบทำได้ทุกประเภททุกขนาด ยกเว้นการวิเคราะห์

(2) งานอำนวยการใช้

(ก) ระบบที่มีสถานีวิทยุคมนาคมที่ใช้คลื่นความถี่ตามตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ โดยใช้กำลังส่งออกอากาศสมมูลแบบไอโซทรอปิก (Equivalent Isotropically Radiated Power E.I.R.P.) ทุกประเภทที่มีขนาดไม่เกิน 33 กิโลวัตต์ (E.I.R.P) ต่อคลื่นพาห์ต่อสถานี

(ข) ระบบสายสัญญาณที่รองรับระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ ทุกประเภทและทุกขนาด

(ค) ระบบสั่งการระยะไกล ระบบโทรมาตร หรือระบบควบคุมระยะไกลของระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ได้แก่ ทางถนน ทางราง ทางน้ำ หรือทางอากาศ ทุกประเภทและทุกขนาด

ข้อ12 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า งานไฟฟ้าสื่อสาร ได้เฉพาะงาน ประเภทและขนาดที่ระบุไว้ในใบอนุญาต

ข้อ13 ในกรณีที่ต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ตามข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการสภาวิศวกร เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการสภาวิศวกรให้เป็นที่สุด

ข้อ14 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามระดับ และสาขาที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ภายในข้อกำหนดและเงื่อนไขตามกฎกระทรวงกำหนด สาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550 อยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้นั้นประกอบการงานนั้นต่อไปได้จนกว่างานจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ไม่เกินสามปีนับแต่วันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ

 

ประกาศ ณ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2566
รองศาสตราจารย์ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์
นายกสภาวิศวกร

 

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 146 ง ราชกิจจานุเบกษา 21 มิถุนายน 2566

 




กฎหมาย




Copyright © 2012 All Rights Reserved.

   

                                  ศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1                                      



  

 

สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร | THE BUILDING INSPECTORS ASSOCIATION
เลขที่ 487 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) ถ.รามคำแหง
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 0-2184-4612   โทรสาร: 0-2184-4613
http://www.bsa.or.th