ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูลกรมโยธาธิการและผังเมือง
กฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบอาคาร
ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรา ๒๖/๔ (๒) สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร




พระราชบัญญัติ ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ article
วันที่ 10/07/2022   07:56:09

 

พระราชบัญญัติ

ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง

พ.ศ. 2542

-----------------------

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

เป็นปีที่ 54 ในรัชกาลปัจจุบัน

 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542”

มาตรา 21 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

1 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116/ตอนที่ 121 ก/หน้า 1/2 ธันวาคม 2542

มาตรา 3 ให้ยกเลิก

(1) พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474

(2) พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496

(3) พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2508

(4) พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2520

(5) พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

น้ำมันเชื้อเพลิง2 หมายความว่า

(1) ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันดิบ น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และน้ำมันหล่อลื่น

(2) สิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น หรือสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

การมีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครอง หมายความว่า การมีไว้ในครอบครองไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น และไม่ว่าจะเป็นกรณีมีไว้เพื่อจำหน่าย เพื่อขนส่ง เพื่อใช้ หรือเพื่อประการอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการทิ้งหรือปรากฏในบริเวณที่อยู่ในความครอบครองด้วย

สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้บริการน้ำมันเชื้อเพลิงแก่ยานพาหนะ และให้หมายความรวมถึงบริเวณที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตให้เป็นเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดจนสิ่งก่อสร้าง ถัง ท่อ และอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ ในบริเวณนั้น

การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า การเคลื่อนย้ายน้ำมันเชื้อเพลิง จากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่ง ไม่ว่าโดยทางบก ทางน้ำ ทางท่อ หรือโดยวิธีการอื่นใด

คลังน้ำมันเชื้อเพลิง3 หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงตามปริมาณหรือประเภทกิจการที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้หมายความรวมถึงบริเวณที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตให้เป็นเขตคลังน้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดจนสิ่งก่อสร้าง ถัง ท่อ และอุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และรวมถึงสถานที่ที่ใช้ในการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตในโรงกลั่นหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง

ข้อบัญญัติท้องถิ่น หมายความว่า เทศบัญญัติ ข้อบังคับตำบล ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติอื่นใด ในทำนองเดียวกันที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง

พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า วิศวกรของกรมธุรกิจพลังงาน*หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้อนุญาต หมายความว่า อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน*หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน*มอบหมาย

รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

2 มาตรา 4 นิยามคำว่า น้ำมันเชื้อเพลิงแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550

3 มาตรา 4 นิยามคำว่า คลังน้ำมันเชื้อเพลิงแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน*รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม กำหนดกิจการอื่น และออกประกาศ ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

*คําบางคําได้แก้ให้เป็นปัจจุบันแล้ว ตามพระราชกฤษฎีกาพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 มาตรา 46

กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด 1

บททั่วไป

-----------------------

มาตรา 6 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในราชการทหารโดยเฉพาะ แต่ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ไปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน

มาตรา 7 เพื่อประโยชน์แก่การป้องกันหรือระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือความเสียหาย หรืออันตรายที่จะมีผลกระทบต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อมหรือการกำหนดแนวทางหรือลักษณะการดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงดังต่อไปนี้

(1) กำหนดการเก็บรักษา การขนส่ง การใช้ การจำหน่าย การแบ่งบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง และการควบคุมอื่นใดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง

(2) กำหนดที่ตั้ง แผนผัง รูปแบบ และลักษณะของสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และคลังน้ำมันเชื้อเพลิง และการบำรุงรักษาสถานที่ดังกล่าว

(3) กำหนดลักษณะของถังหรือภาชนะที่ใช้ในการบรรจุหรือขนส่ง และการบำรุงรักษาถังหรือภาชนะดังกล่าว

(4) กำหนดคุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง

(5) กำหนดวิธีการปฏิบัติงานและการจัดให้มีและบำรุงรักษาอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นใดเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

(6) กำหนดการรับฟังความเห็นของประชาชนตามความเหมาะสมแก่กิจการ ในการดำเนินกิจการหรืออนุญาตให้ดำเนินกิจการตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีผลกระทบต่อประชาชน

(7) กำหนดการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

ถ้ากฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือประกาศใดที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงที่ออกตามวรรคหนึ่ง กฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือประกาศนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับหรือสิ้นผลใช้บังคับ แล้วแต่กรณี เว้นแต่กฎกระทรวงข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือประกาศดังกล่าวจะได้ออกโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเนื่องจากมีความจำเป็นหรือเหตุผลพิเศษเฉพาะท้องถิ่น

กฎกระทรวงตามวรรคหนึ่งจะกำหนดให้เรื่องรายละเอียดทางด้านเทคนิคหรือเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อประโยชน์ของความปลอดภัย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาก็ได้4

4 มาตรา 7 วรรคสาม เพิ่มโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550

หมวด 2

คณะกรรมการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง

-----------------------

 มาตรา 85 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานกรรมการ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี อธิบดีกรมการขนส่งทางบก อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธาณภัย อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิอีกหกคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ

ให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานแต่งตั้งข้าราชการของกรมธุรกิจพลังงานอีกไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นที่ปรึกษาพรรคการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง และต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีผลงานและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สิ่งแวดล้อม กฎหมาย การควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง และธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิงสาขาละหนึ่งคน และอย่างน้อยสองคนให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำเนินงานในองค์การสาธารณประโยชน์ เพื่อการคุ้มครองสุขภาพอนามัย ความปลอดภัยหรือสิ่งแวดล้อม

5 มาตรา 8 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550

มาตรา 9 ให้คณะกรรมการมีอำนาจดังต่อไปนี้

(1) เสนอแนะนโยบายและมาตรการต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อประโยชน์แก่การป้องกันหรือระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือความเสียหายหรืออันตรายที่จะมีผลกระทบต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม หรือการกำหนดแนวทางหรือลักษณะการดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม

(2) ให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงและประกาศตามพระราชบัญญัตินี้

(3) ให้ความเห็นประกอบการพิจารณาให้สัมปทานของคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 44

(4) สอดส่องดูแลและประสานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานต่างๆ ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อประโยชน์แก่การป้องกันหรือระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือความเสียหายหรืออันตรายที่จะมีผลกระทบต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม หรือการกำหนดแนวทาง หรือลักษณะการดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม

(5) ให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นแก่หน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับการเก็บรักษาการขนส่ง การใช้ การจำหน่าย การแบ่งบรรจุ และการควบคุมอย่างอื่นเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง

(6) ปฏิบัติการอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

มาตรา 10 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันสองคราวไม่ได้

มาตรา 11 นอกจาการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 10 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(1) ตาย

(2) ลาออก

(3) คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย

(4) เป็นบุคคลล้มละลาย

(5) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

(6) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนในตำแหน่งที่ว่างเพราะเหตุพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งตนแทน

มาตรา 12 ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดำรงตำแหน่งครบวาระแล้ว แต่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่

มาตรา 13 การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นการส่วนตัวในเรื่องใดในระหว่างการลงคะแนนกรรมการผู้นั้นไม่มีสิทธิอยู่ในห้องประชุม

มาตรา 14 ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้ และให้นำมาตรา 13 มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม

ให้คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 15 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆ มาเพื่อประกอบการพิจารณาได้และคณะกรรมการจะมอบอำนาจให้คณะอนุกรรมการใดใช้อำนาจดังกล่าวด้วยก็ได้

มาตรา 16 ให้กรมธุรกิจพลังงาน*ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิชาการและงานธุรการให้แก่คณะกรรมการรวมทั้งประสานงานและให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานต่างๆ ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง และงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

หมวด 3

การประกอบกิจการควบคุม

-----------------------

มาตรา 17 เพื่อให้การควบคุมการประกอบกิจการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อปกป้องประชาชนให้มีความปลอดภัย ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทกิจการควบคุมของการมีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครอง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง คลังน้ำมันเชื้อเพลิงและการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือทุกชนิดรวมกัน ให้สอดคล้องกับระดับอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

(1) ประเภทที่ 1 ได้แก่กิจการที่สามารถประกอบการได้ทันทีตามความประสงค์ของผู้ประกอบกิจการ

(2) ประเภทที่ 2 ได้แก่กิจการที่เมื่อจะประกอบการต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน

(3) ประเภทที่ 3 ได้แก่กิจการที่ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตก่อนจึงจะประกอบการได้

(ยกเลิก)6

การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางน้ำให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือ ในน่านน้ำไทย

6 มาตรา 17 วรรคสอง ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550

มาตรา 18 ผู้ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 1 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7

มาตรา 19 ผู้ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7 และเมื่อจะเริ่มประกอบการให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน

แบบและรายละเอียดที่ต้องแจ้ง วิธีการแจ้ง และแบบใบรับแจ้ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับแจ้งเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้แจ้งในวันที่ได้รับแจ้ง ในการนี้ให้ผู้แจ้งประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ได้ตั้งแต่วันที่แจ้ง

ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบในภายหลังว่าการแจ้งตามวรรคหนึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้แจ้งแก้ไขหนังสือแจ้งให้ถูกต้องหรือครบถ้วนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งดังกล่าว

การเลิกประกอบกิจการและการโอนกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ผู้ประกอบกิจการต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการดังกล่าว

มาตรา 20 เมื่อได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดกิจการควบคุมประเภทที่ 3 แล้วห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการดังกล่าวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต

ในกรณีที่การประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 จะต้องมีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้ หรือเปลี่ยนการใช้อาคารอันเกี่ยวกับการนั้นด้วย ถ้าผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตมีคำขอให้ผู้อนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจออกใบอนุญาตหรือใบรับแแจ้งหรือใบรับรองการใช้อาคาร ควบคุมการใช้สำหรับการดังกล่าวได้ แล้วแต่กรณี ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และเมื่อมีการดำเนินการตามนั้นไปเสร็จแล้ว ให้ส่งเอกสารหลักฐานต่างๆ ให้แก่ผู้มีอำนาจหน้าที่ตากฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร เพื่อรับช่วงการดำเนินการต่อไป

มาตรา 21 กาขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และอายุใบอนุญาต ในการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 22 ผู้ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7

ในการอนุญาตให้ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ผู้อนุญาตจะกำหนดเงื่อนไขใดๆ ตามควรแก่กรณีก็ได้ และจะกำหนดจำนวนปริมาณสูงสุดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ได้รับใบอนุญาตอาจมีไว้ในครอบครองด้วยก็ได้

ใบอนุญาตที่ออกไปแล้วนั้น ถ้าต่อมามีเหตุสำคัญเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยหรือกฎหมายหรือพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขในการอนุญาตได้ตามความจำเป็น

ถ้าเป็นการอนุญาตให้ประกอบกิจการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ ให้รัฐมนตรีประกาศกำหนดเขตระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขตในราชกิจจานุเบกษา และให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 34 โดยอนุโลม และให้นำมาตรา 37 และมาตรา 39 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 23 การขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้วให้ถือว่าผู้ยื่นคำขออยู่ในฐานะผู้รับใบอนุญาตจนกว่าจะได้รับแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตและการให้ต่ออายุใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 24 คำสั่งไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่ต่ออายุใบอนุญาต ผู้ขออนุญาต หรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งรัฐมนตรีต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์

คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

มาตรา 25 ผู้รับใบอนุญาตจะโอนกิจการตามที่ได้รับอนุญาตให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต

การยื่นคำขอโอนใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 26 ในกรณีผู้รับใบอนุญาตตายหรือสิ้นสภาพนิติบุคคลหรือตกเป็นบุคคลล้มละลาย ให้ทายาทหรือผู้ชำระบัญชีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตเพื่อรับโอนใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับใบอนุญาตตายหรือสิ้นสภาพนิติบุคคลหรือตกเป็นบุคคลล้มละลาย แล้วแต่กรณี หรือภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตขยายเวลาให้ตามความจำเป็นถ้ามิได้ยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ถือว่าใบอนุญาตสิ้นอายุ หากจะประกอบกิจการ ตามใบอนุญาตนั้นต่อไปให้ดำเนินการขอรับใบอนุญาตใหม่

ในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเสมือนว่าทายาทหรือผู้ชำระบัญชี หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเข้าประกอบกิจการตามใบอนุญาตนั้นเป็นผู้รับใบอนุญาต

ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ให้นำความในสองวรรคก่อนมาใช้บังคับแก่ผู้อนุบาลโดยอนุโลม

มาตรา 27 ผู้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบการที่ระบุในใบอนุญาต

มาตรา 28 ถ้าใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำ ลายในสาระสำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งต่อผู้อนุญาตและยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว

การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 29 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้ท้องที่หนึ่งท้องที่ใดเป็นเขตห้ามประกอบกิจการควบคุมตามมาตรา 17 อย่างหนึ่งอย่างใดหรือทุกอย่างได้

มาตรา 30 ในกรณีที่ได้มีการออกกฎกระทรวงตามมาตรา 29 แล้ว ห้ามมิให้มีการประกอบกิจการควบคุมตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าว

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งประกอบกิจการควบคุมในเขตห้ามประกอบกิจการควบคุมอยู่ก่อนที่จะมีกฎกระทรวงตามมาตรา 29 ใช้บังคับ และจะประกอบกิจการควบคุมนั้นต่อไป เมื่อมีกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว แต่ถ้าอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน*เห็นว่าการประกอบกิจการควบคุมเช่นนั้นต่อไปจะขัดต่อเจตนารมณ์ของการมีกฎกระทรวงดังกล่าว หรืออาจมีผลกระทบกระเทือนต่อการป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือความเสียหายหรืออันตรายที่จะมีผลกระทบต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม หรือการกำหนดแนวทาง หรือลักษณะการดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน*มีอำนาจออกคำสั่งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการควบคุมนั้นได้ และจะสั่งเป็นหนังสือถึงผู้ประกอบกิจการควบคุมให้แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือระงับการกระทำใดภายในระยะเวลาที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ถ้าการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมนั้นต้องเสียหายหรือขาดประโยชน์ที่เคยได้รับเกินสมควร ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับค่าทดแทนตามความเป็นธรรม

ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการควบคุมซึ่งได้รับคำสั่งจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน*ตามวรรคสองไม่พอใจในคำสั่งดังกล่าว ให้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

รัฐมนตรีต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคสามให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์

คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

หมวด 4

บริการของรัฐเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง

-----------------------

มาตรา 31 คณะรัฐมนตรีอาจอนุมัติให้หน่วยงานของรัฐหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีคลังน้ำมันเชื้อเพลิงหรือระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อเพื่อให้บริการในด้านการใช้เป็นสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงหรือการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงได้

หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ดำเนินการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7

มาตรา 32 เมื่อมีความจำเป็นที่หน่วยงานของรัฐจะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างคลังน้ำมันเชื้อเพลิงหรือระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ ให้ดำเนินการเวนคืน ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์

มาตรา 33 เพื่อประโยชน์ในการสร้างหรือบำรุงรักษาคลังน้ำมันเชื้อเพลิง หรือระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ดำเนินการมีอำนาจเข้าไปใช้สอยหรือครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมิใช่ที่อยู่อาศัยของบุคคลใดเป็นการชั่วคราวได้ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

(1) การใช้สอยหรือเข้าครอบครองนั้นเป็นการจำเป็นสำหรับการสำรวจ หรือสร้างหรือบำรุงรักษาคลังน้ำมันเชื้อเพลิงหรือระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ หรือเป็นการจำเป็นสำหรับการป้องกันอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดแก่คลังน้ำมันเชื้อเพลิงหรือระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ

(2) หน่วยงานของรัฐนั้นได้บอกกล่าวให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ทราบล่วงหน้าแล้ว โดยแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ทราบภายในเวลาอันสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่ในกรณีที่ไม่อาจติดต่อกับเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้ ให้ประกาศให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน การประกาศให้ทำเป็นหนังสือปิดไว้ ณ ที่ซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ และ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการกำนัน และที่ทำการผู้ใหญ่บ้านแห่งท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ทั้งนี้ ให้แจ้งกำหนดวันเวลาและการที่จะกระทำนั้นไว้ด้วย

ในกรณีที่การปฏิบัติตามมาตรานี้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ทรงสิทธิอื่น บุคคลนั้นย่อมเรียกค่าทดแทนจากหน่วยงานของรัฐได้

มาตรา 34 ให้หน่วยงานของรัฐประกาศกำหนดเขตระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขตในราชกิจจานุเบกษา และปิดประกาศดังกล่าวไว้ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอแห่งท้องที่ที่ระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อนั้นตั้งอยู่กับให้จัดทำเครื่องหมายแสดงไว้ในบริเวณเขตระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อตามหลักเกณฑ์ที่กรมธุรกิจพลังงาน*กำหนด

มาตรา 35 ในการจัดทำระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ หน่วยงานของรัฐมีอำนาจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(1) วางระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อไปใต้ เหนือ ตาม หรือข้ามที่ดินของบุคคลใด

(2) รื้อถอนอาคารหรือโรงเรือนซึ่งมิใช่ที่อยู่อาศัยของบุคคลใดๆ หรือทำลายสิ่งอื่นที่สร้างหรือทำขึ้น หรือทำลาย หรือตัดฟันต้น กิ่ง หรือรากของต้นไม้ หรือพืชผลในเขตระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ

ก่อนที่จะดำเนินการตาม (1) หรือ (2) ให้หน่วยงานของรัฐแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องทราบ และให้นำมาตรา 33 วรรคหนึ่ง (2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งอาจอุทธรณ์เหตุที่ไม่สมควรทำเช่นนั้นต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง

รัฐมนตรีต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคสามให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์

คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นไปที่สุด

มาตรา 36 ให้หน่วยงานของรัฐจ่ายค่าทดแทนแก่เจ้าของหรือผู้ทรงสิทธิในที่ดินอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างในกรณีดังต่อไปนี้

(1) การใช้ที่ดินที่ประกาศกำหนดเป็นเขตระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อตามมาตรา 34

(2) การใช้ที่ดินวางระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อตามมาตรา 35 (1)

(3) การกระทำตามมาตรา 35 (2)

ค่าทดแทนตามวรรคหนึ่ง ให้คำนวณจากความเสียหายตามความเป็นจริง รวมทั้งค่าขาดประโยชน์จากการใช้สอยสิ่งต่างๆ ดังกล่าวนั้นด้วย

มาตรา 37 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันอาจเป็นอันตรายต่อระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ รวมทั้งอุปกรณ์ของระบบดังกล่าวนั้น

มาตรา 38 ในเขตระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ ไม่ว่าบนบกหรือในน้ำหรือใต้พื้นท้องน้ำหรือพื้นท้องทะเล ห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างอาคาร โรงเรือน ต้นไม้หรือสิ่งอื่นใดติดตั้งสิ่งใด เจาะหรือขุดพื้นดิน ถมดิน ทิ้งสิ่งของ หรือกระทำด้วยประการใดๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายหรือเป็นอุปสรรคแก่ระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรี ในกรณีเช่นนี้ให้รัฐมนตรีอนุญาตได้เมื่อได้รับฟังความเห็นของหน่วยงานของรัฐผู้ดำเนินการแล้วปรากฏว่าการกระทำดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม และในการอนุญาตรัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้ามีการฝ่าฝืนให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนรื้อถอน ขนย้าย ตัดฟัน ทำลาย หรือกระทำการใดๆ ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตาม หรือในกรณีที่หาตัวผู้ฝ่าฝืนไม่ได้ เมื่อได้ประกาศคำสั่งไว้ ณ บริเวณนั้น และ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการกำนันและที่ทำการผู้ใหญ่บ้านแห่งท้องที่นั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวันแล้ว และไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งนั้น รัฐมนตรีอาจมีคำสั่ง ให้หน่วยงานของรัฐเข้ารื้อถอน ขนย้าย ตัดฟัน ทำลาย หรือกระทำการใดๆ ได้ตามควรแก่กรณี โดยผู้ใดจะเรียกร้องค่าเสียหายมิได้ และผู้ฝ่าฝืนต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริงในการนั้นพร้อมกับเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสามสิบต่อปีของค่าใช้จ่ายดังกล่าวโดยคำนวณตั้งแต่วันที่หน่วยงานของรัฐได้เข้าดำเนินการจนถึงวันที่ได้ชำระค่าใช้จ่ายและเงินเพิ่มครบถ้วน

มาตรา 39 ในกรณีมีการประกาศกำหนดเขตระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในแม่น้ำ ลำคลอง ทะเล หรือทางสัญจรทางน้ำแห่งใด ไม่ว่าจะอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดทอดสมอเรือ หรือเกาสมอ หรือลากแห อวน หรือเครื่องจับสัตว์อย่างใดๆ ในเขตเหล่านั้น

เมื่อเรือใดแล่นข้ามเขตระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ ถ้ามิได้ชักสมอขึ้นพ้นจากน้ำจนแลเห็นได้ ให้ถือว่าการกระทำนั้นมีผลเป็นการเกาสมอแล้ว

มาตรา 40 เพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัย ให้หน่วยงานของรัฐมีอำนาจทำลายหรือตัดฟันต้น กิ่ง รากของต้นไม้ หรือสิ่งอื่นใดที่อยู่ใกล้คลังน้ำมันเชื้อเพลิงหรือระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ แต่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองต้นไม้ หรือสิ่งนั้นทราบล่วงหน้าภายในเวลาอันสมควร ถ้าไม่อาจติดต่อกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองได้ ให้หน่วยงานของรัฐมีอำนาจดำเนินการได้ตามที่เห็นสมควร

ในกรณีที่ต้นไม้หรือสิ่งอื่นใดมีอยู่ก่อนการสร้างคลังน้ำมันเชื้อเพลิง หรือระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ ให้หน่วยงานของรัฐจ่ายค่าทดแทนตามความเป็นธรรมให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองต้นไม้หรือสิ่งนั้น ตามสมควรแก่กรณี

มาตรา 41 ในกรณีที่จำเป็นและเร่งด่วน หน่วยงานของรัฐมีอำนาจเข้าไปในที่ดินหรือสถานที่ของบุคคลใดในเวลาใดเพื่อตรวจ ซ่อมแซม หรือแก้ไขระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อได้ แต่ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้นด้วย ก็ให้แจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทราบก่อน

มาตรา 42 ในการกระทำกิจกาตามมาตรา 40 หรือมาตรา 41 หน่วยงานของรัฐ ต้องพยายามมิให้เกิดความเสียหาย แต่ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นหน่วยงานของรัฐต้องรับผิด ต่อความเสียหายนั้น

มาตรา 43 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน คณะรัฐมนตรีอาจอนุมัติให้เอกชนรายใดเป็นผู้รับสัมปทานในการจัดให้มีคลังน้ำมันเชื้อเพลิงหรือระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อตามหมวดนี้ก็ได้

การขอรับสัมปทานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ในกฎกระทรวง

ผู้ยื่นคำขอต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 44 การยื่นขอสัมปทานให้ยื่นต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน* และให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน*ทำเรื่องเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการให้สัมปทานและเงื่อนไขในการให้สัมปทานประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป

มาตรา 45 ผู้รับสัมปทานจะโอนสัมปทานได้ต่อเมื่อมีเหตุอันสมควรและคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้รับโอนมีคุณสมบัติตามมาตรา 43 วรรคสาม และอนุญาตให้โอนสัมปทานได้

ผู้รับโอนสัมปทานตามวรรคหนึ่งต้องรับไปซึ่งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดทั้งหมดของผู้รับสัมปทานรายเดิม

มาตรา 46 ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานตายหรือสิ้นสภาพนิติบุคคลหรือตกเป็นบุคคลล้มละลาย ให้ทายาทหรือผู้ชำระบัญชีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีสิทธิแสดงเจตนาในการโอนสัมปทานตามมาตรา 45

การแสดงเจตนาในการโอนสัมปทานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎระทรวง

มาตรา 47 การโอนสัมปทานตามมาตรา 45 และมาตรา 46 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 48 ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานไม่ได้รับอนุญาตให้โอนสัมปทาน ให้รัฐมนตรีมีหนังสือแจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบพร้อมทั้งเหตุผลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีมีคำสั่ง

มาตรา 49 กิจการตามที่ได้รับสัมปทานจะตกเป็นของรัฐเมื่อใดให้เป็นไปตามที่กำหนดในสัมปทาน

มาตรา 50 ในกรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ รัฐมีอำนาจเข้ายึดถือครอบครองกิจการที่ได้รับสัมปทาน โดยรัฐจะต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่ผู้รับสัมปทานตามที่กำหนดในสัมปทาน ในกรณีที่สัมปทานมิได้กำหนดเรื่องค่าทดแทนไว้ ให้ใช้ค่าทดแทนโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้รับสัมปทานควรได้รับตามความเป็นธรรม

ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับสัมปทานมารับเงินค่าทดแทนภายในเวลาที่กำหนด ถ้าผู้รับสัมปทานไม่มารับเงินภายในกำหนดเวลาที่ได้รับแจ้ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำเงินค่าทดแทนไปฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของผู้รับสัมปทาน

มาตรา 51 ในกรณีที่มีผู้รับสัมปทานมีความจำ เป็นจะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างคลังน้ำมันเชื้อเพลิงหรือระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อตามที่กำหนดไว้ในสัมปทาน และผู้รับสัมปทานไม่สามารถดำเนินการให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อการนั้นโดยวิธีอื่น ให้กรมธุรกิจพลังงาน*เป็นผู้ดำเนินการเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยผู้รับสัมปทานเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและค่าทดแทน

มาตรา 52 ให้นำบทบัญญัติตามความในหมวดนี้ที่ใช้บังคับแก่การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐมาใช้บังคับแก่ผู้รับสัมปทานโดยอนุโลม

หมวด 5

การควบคุมและตรวจสอบ

-----------------------

มาตรา 53 เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) เข้าไปในอาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ดำเนินกิจการ หรือมีเหตุสงสัยว่าจะมีการดำเนินกิจการควบคุมตามมาตรา 17 หรือคลังน้ำมันเชื้อเพลิงหรือเขตระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อตามหมวด 4 ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสภาพอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือการกระทำใดที่อาจเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่ปฏิบัติตามที่กำหนดในสัมปทาน

(2) นำตัวอย่างน้ำมันเชื้อเพลิงที่สงสัยในปริมาณพอสมควรเพื่อใช้ในการตรวจสอบ พร้อมกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง

(3) ตรวจ ค้น กัก ยึด หรืออายัดน้ำมันเชื้อเพลิง ถังหรือภาชนะบรรจุท่อส่งน้ำมันเครื่องอุปกรณ์ หรือสิ่งใดๆ ที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่มีเหตุสงสัยว่ามีการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่เป็นไปตามที่กำหนดในสัมปทาน หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายที่จะมีผลกระทบต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม

(4) มีหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุใดมาเพื่อประกอบการพิจารณา

(5) ตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงแล้วรายงานต่อผู้อนุญาตหรือรัฐมนตรีแล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการควบคุมตามมาตรา 17 หรือผู้รับสัมปทานได้กระทำผิดหรือทำให้เกิดความเสียหายเพราะเหตุไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่กำหนดในสัมปทาน

มาตรา 54 ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามเงื่อนไขที่ผู้อนุญาตกำหนดตามมาตรา 22 หรือผู้รับสัมปทานผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่กำหนดในสัมปทาน หรือการดำเนินกิจการมีสภาพที่อาจก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ ความเสียหาย หรืออันตรายที่จะมีผลกระทบต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือแก้ไขหรือปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ได้

มาตรา 55 ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการควบคุมตามมาตรา 17 ไม่แก้ไข หรือปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่งตามมาตรา 54 ภายในเวลาที่กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งห้ามประกอบกิจการต่อไป หรือให้ผู้อนุญาตเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี และถ้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่มีปริมาณมากกว่าที่จะมีไว้ในครอบครอง หรือที่ได้รับอนุญาต หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(1) สั่งให้ผู้ประกอบกิจการขนย้ายน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมดหรือบางส่วนไปไว้ยังสถานที่ที่ปลอดภัยภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด

(2) ในกรณีจำเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเข้าดำเนินการขนย้ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการขนย้ายน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น และนำไปเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ที่ปลอดภัยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ประอบกิจการต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและการเก็บรักษานั้นตามจำนวนที่จ่ายจริงรวมกับเบี้ยปรับในอัตราร้อยละสามสิบต่อปีของเงินจำนวนดังกล่าว

มาตรา 56 ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานไม่แก้ไขหรือปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่งตามมาตรา 54 ภายในเวลาที่กำหนด ให้รัฐมนตรีพิจารณาเกี่ยวกับการเพิกถอนสัมปทานโดยไม่ชักช้า

ถ้ารัฐมนตรีเพิกถอนสัมปทาน ให้กิจการที่ได้รับสัมปทานนั้นตกเป็นของรัฐในการนี้ให้ผู้รับสัมปทานที่ถูกเพิกถอนดังกล่าวได้รับค่าทดแทน โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้รับสัมปทานควรได้รับตามความเป็นธรรม และให้นำมาตรา 50 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 57 ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการควบคุมหรือผู้รับสัมปทานซึ่งได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 54 ไม่พอใจในคำสั่งดังกล่าว ให้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

รัฐมนตรีต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับอุทธรณ์

คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

มาตรา 58 ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องร้องขอบัตร

ประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 59 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดแนวทางและเงื่อนไขสำหรับการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ตามความเหมาะสม

มาตรา 60 ให้มีคณะกรรมการอุทธรณ์คณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงพลังงาน*เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการผังเมือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้ทรงคุณวุฒิอีกสามคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ

ให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน*เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน*แต่งตั้งข้าราชการของกรมธุรกิจพลังงาน*อีกไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญมีผลงานเกี่ยวกับสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และเคยเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิง

ให้คณะกรรมการอุทธรณ์มีหน้าที่ให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้

ให้นำมาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 13 มาตรา 14 และมาตรา 15 มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการอุทธรณ์โดยอนุโลม

หมวด 6

บทกำหนดโทษ

-----------------------

มาตรา 61 ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำ หรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆ ตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการสั่งตามมาตรา 15 หรือที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือเรียกตามมาตรา 53 (4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 62 ผู้ใดประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 1 โดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 63 ผู้ใดประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 โดยไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 64 ผู้ใดประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 โดยแจ้งการประกอบกิจการไม่ถูกต้องครบถ้วนตาที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา 19 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

ผู้ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ผู้ใดไม่แจ้งการประกอบกิจการให้ถูกต้องครบถ้วนตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 19 วรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งให้เลิกการประกอบกิจการ

มาตรา 65 ผู้ใดประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 66 ผู้ใดประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 โดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 67 ผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7 ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 62 มาตรา 63 หรือมาตรา 66 แล้วแต่กรณี

มาตรา 68 ผู้ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 27 หรือมาตรา 28 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

มาตรา 69 ผู้ใดประกอบกิจการควบคุมโดยฝ่าฝืนมาตรา 30 วรรคหนึ่ง

(1) ในกรณีที่เป็นกิจการควบคุมประเภทที่ 1 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(2) ในกรณีที่เป็นกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(3) ในกรณีที่เป็นกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 70 ผู้ประกอบกิจการควบคุมตามมาตรา 17 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน*ที่สั่งตามมาตรา 30 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งให้เลิกกาประอบกิจการ

มาตรา 71 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา 54 โดยไม่มีเหตุผลอันควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งให้เลิกการประกอบกิจการ

มาตรา 72 ผู้ใดไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 33 มาตรา 35 หรือมาตรา 40 หรือมาตรา 41 หรือมาตรา 53 (1) (2) หรือ (3) หรือตามมาตรา 55 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 73 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 37 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อหรืออุปกรณ์ของระบบดังกล่าวถูกทำลาย เสียหาย เสื่อมค่า หรือไร้ประโยชน์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 74 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 38 หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 38 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 75 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 39 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อหรืออุปกรณ์ของระบบดังกล่าวถูกทำลาย เสียหาย เสื่อมค่า หรือไร้ประโยชน์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในระหว่างการพิจารณาคดีการกระทำความผิดตามมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจกักเรือไว้ได้จนกว่าจะมีรชำระค่าปรับตามคำพิพากษาของศาล

มาตรา 76 ผู้ใดทำให้เครื่องหมายแสดงเขตระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อเคลื่อนที่หรือทำให้เสียหายด้วยประการใดๆ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 77 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 73 มาตรา 74 มาตรา 75 หรือมาตรา 76 เป็นเหตุให้ประชาชนขาดความสะดวก หรือน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลสัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ควาตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินยี่สิบปีหรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 78 ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงาน ของนิติบุคคลนั้น ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย

มาตรา 79 บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือโทษจำ คุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับ ให้คณะกรรมการมีอำ นาจเปรียบเทียบปรับได้ และคณะกรรมการอาจมอบอำนาจให้คณะอนุกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจดังกล่าวด้วยก็ได้

ในกรณีที่พนักงานสอบสวนพบว่าผู้ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง และผู้นั้นยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ

เมื่อได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ดำเนินคดีต่อไป

มาตรา 80 ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่มีการกระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือความผิดตามกฎหมายอื่นในกรณีที่เป็นความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกันกับความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าศาลเห็นว่าการรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษความผิดไว้โดยกำหนดเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่าในการทำให้สำนึกในการกระทำความผิดหรือการป้องกันมิให้เกิดการกระทำความผิดทำนองเดียวกันอีก ศาลที่พิพากษาความผิดดังกล่าวจะรอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษความผิดเหล่านั้นไว้ โดยกำหนดเงื่อนไขย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้กระทำความผิดหรือผู้ซึ่งต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุน ต้องปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ได้ โดยจะเป็นเงื่อนไขให้ดำเนินการหรืองดเว้นการดำเนินการอย่างใดเพื่อให้มีการแก้ไขเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วหรือเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำความผิดเช่นนั้นอีก หรือเพื่อทำประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดแก่ส่วนรวมก็ได้ ในการนี้ ศาลจะแต่งตั้งบุคคลใดไว้คอยสอดส่องดูแลและแนะนำเพื่อให้การเป็นไปตามคำพิพากษานั้น โดยจะกำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องชำระค่าป่วยการสำหรับการงานของบุคคลดังกล่าวไว้ด้วยก็ได้

กรณีที่ศาลจะใช้หรือไม่ใช้มาตรการตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลแสดงเหตุผลสำหรับการนั้นไว้ในคำพิพากษาด้วยเงื่อนไขที่กำหนดตามวรรคหนึ่งศาลอาจแก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนหรือเพิ่มเติมเงื่อนไขขึ้นใหม่ได้ตามความเหมาะสมตามที่ศาลเห็นสมควร ไม่ว่าจะมีคำขอของผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม

ถ้าความปรากฏแก่ศาลเองหรือปรากฏตามคำแถลงของผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ผู้กระทำความผิดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด ศาลอาจตักเตือนผู้กระทำความผิด หรือกำหนดโทษสำหรับโทษที่รอการกำหนดโทษ หรือลงโทษสำหรับโทษที่รอการลงโทษไว้นั้นก็ได้

มาตรา 81 ในกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษปรับบุคคลใดในความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ศาลจะกำหนดไว้ในคำพิพากษาให้บุคคลดังกล่าวแบ่งชำระเงินค่าปรับออกเป็นส่วนๆ ตามระยะเวลาและจำนวนเงินที่ต้องชำระในแต่ละคราวตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้

มาตรา 82 บทบัญญัติมาตรา 80 และมาตรา 81 ให้ใช้บังคับแก่การเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยอนุโลม

หมวด 7

บทเฉพาะกาล

-----------------------

มาตรา 83 คำ ขออนุญาตใดๆ และการอนุญาตใดๆ ที่ได้ให้ไว้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 ให้ถือว่าเป็นคำขออนุญาตและการอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม และให้อยู่ในบังคับตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 84 ภายใต้บังคับมาตรา 83 บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้แก่บุคคลใดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุที่กำหนดไว้

มาตรา 85 ถ้าผู้ประกอบกิจการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อที่เข้าลักษณะเป็นกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัตินี้ซึ่งประกอบกิจการอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงที่ออกตามมาตราดังกล่าวใช้บังคับ ให้ผู้อนุญาตออกใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ให้แก่ผู้ประกอบกิจการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อนั้น

ในการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติได้ตามความเหมาะสม โดยให้คำนึงถึงประโยชน์แห่งการป้องกันอัคคีภัย ความมั่นคง แข็งแรง ความปลอดภัย การสาธารณสุข การผังเมือง การอำนวยความสะดวกแก่การจราจร การป้องกันหรือระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือความเสียหาย หรืออันตรายที่จะมีผลกระทบต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม หรือการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์แห่งพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 86 บรรดาบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงให้คงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ประกาศ คำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแทน ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา 87 บรรดากฎกระทรวง ประกาศ คำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับที่ออกตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ประกาศ คำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ขึ้นใช้แทน

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

             ชวน หลีกภัย

            นายกรัฐมนตรี

        

 

อัตราค่าธรรมเนียม

-----------------------

(1)  คำขอ                                                                  ฉบับละ     200 บาท

(2)  ใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3       ฉบับละ   3,000 บาท

(3)7 การขออนุญาตให้ใช้ถังหรือภาชนะในการบรรจุ หรือขนส่ง
น้ำมันเชื้อเพลิง โดยคิดตามปริมาตรสถานะของเหลว
หรือเทียบเท่าตามน้ำหนักในกรณีที่เป็นการบรรจุ
หรือขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงสถานะก๊าซ

(ก) ปริมาตรไม่เกิน 100,000 ลิตร                           ถังละ     4,000 บาท

(ข) ปริมาตรเกิน 100,000 ลิตร

ให้คิดค่าธรรมเนียม 400 บาทต่อปริมาตรทุกๆ 10,000 ลิตร

เศษของ 10,000 ลิตร ให้คิดเป็น 10,000 ลิตร

ในการออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้แตกต่างกันโดยคำนึงถึงลักษณะของการประกอบกิจการ ชนิด หรือปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะอนุญาตก็ได้

7 อัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 (3)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่
2) พ.ศ. 2550

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้วไม่เหมาะสมกับสภาวะการณ์ในปัจจุบันและทันกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วสมควรปรับปรุงการควบคุมการประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงให้สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของการประกอบกิจการตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนอกจากนี้ ได้เพิ่มบทบัญญัติที่ให้อำนาจรัฐในการจัดให้มีคลังน้ำมันเชื้อเพลิงและระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ และบทบัญญัติในเรื่องของสัมปทาน รวมทั้งให้มีการกำหนดรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการควบคุมดูแลการประกอบกิจการการเก็บรักษาและการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงพร้อมทั้งปรับปรุงบทบัญญัติความผิดและโทษทางอาญาให้เหมาะสมยิ่งขึ้นด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 

*พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตาม
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545
8

8 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119/ตอนที่ 102 ก/หน้า 66/8 ตุลาคม 2545

 

มาตรา 46 ในพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ให้แก้ไขคำว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคำว่า ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็น ปลัดกระทรวงพลังงานคำว่า กรมโยธาธิการเป็น กรมธุรกิจพลังงานคำว่า อธิบดีกรมเจ้าท่าเป็น อธิบดีกรมการขนส่งทางนํ้าและพาณิชยนาวีคำว่า อธิบดีกรมโยธาธิการเป็น อธิบดีกรมธุรกิจพลังงา นคำว่า เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็น ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานและคำว่า ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติเป็น อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่างๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมายโอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

 

พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25509

มาตรา 10 คำขอและการอนุญาตใดๆ ที่ได้ให้หรือดำเนินการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 28 ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ให้ถือว่าเป็นคำขอและการอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 11 ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับหรือเงื่อนไขที่ออกหรือกำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการบรรจุก๊าซตามข้อ 2 และที่เกี่ยวกับกฎกระทรวงที่ออกตามข้อ 3 ของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 28 ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ให้นำกฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ หรือเงื่อนไขที่ออกหรือกำหนดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 28 ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับ

มาตรา 12 บรรดากฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ หรือเงื่อนไขที่ออกหรือกำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ที่ใช้อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิให้นำมาใช้บังคับแก่การประกอบกิจการก๊าซปิโตรเลียมเหลว จนกว่าจะมีกฎกระทรวงประกาศ ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ หรือเงื่อนไขที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกอบกิจการก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ออกหรือกำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา 13 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

9 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124/ตอนที่ 70 ก/หน้า 4/18 ตุลาคม 2550

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายในการควบคุมการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซปิโตรเลียมเหลว และก๊าซธรรมชาติที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีหลายฉบับ โดยเฉพาะก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 28 ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ซึ่งใช้บังคับมาเป็นเวลานาน มีบทบัญญัติบางประกาไม่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน จึงสมควแก้ไขโดยรวมกฎหมายที่เป็นเรื่องเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันให้อยู่ในฉบับเดียวกันเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และสมควรปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลเพื่อความปลอดภัยของประชาชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งสมควรกำหนดให้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ก๊าซธรรมชาติผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่น และสิ่งอื่นที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงซึ่งมีลักษณะและองค์ประกอบใกล้เคียงกับเชื้อเพลิงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกฎหมาย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 

 




กฎหมาย




Copyright © 2012 All Rights Reserved.

   

                                  ศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1                                      



  

 

สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร | THE BUILDING INSPECTORS ASSOCIATION
เลขที่ 487 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) ถ.รามคำแหง
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์: 0-2184-4612   โทรสาร: 0-2184-4613
http://www.bsa.or.th